แสดงต้นทุนการผลิตปลานิลเฉลี่ยต่อไร่ต่อรุ่น
รายการ------------------------------------เงินสด-------ประเมิน--------รวม-----------ร้อยละ
1.ต้นทุนผันแปรรวม-------------------------4,874.86----900.35------5,775.21--------84.31
-ค่าพันธ์ปลา-------------------------------1,365.30-----53.08------1,418.38--------20.71
-ค่าอาหาร---------------------------------1,704.73-----263.20-----1,967.93--------28.73
-ค่าแรงงาน----------------------------------664.51-----517.72-----1,182.23--------17.26
-ค่ายาปฎิชีวนะและสารเคมี---------------------67.88-------0.62--------68.50---------1.00
-ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้า------------------367.09------------------367.09---------5.36
-ค่าซื้ออุปกรณ์--------------------------------35.95-------------------35.95---------0.52
-ค่าซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์-------------104.43------------------104.43---------1.52
-ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ -----------------------------136.95-------------------136.95---------2.00
-ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสเงินทุน-----------428.01------65.73-------493.74---------7.21
2.ต้นทุนคงที่รวม-----------------------------230.65-----843.97------1,074.62--------15.69
-ค่าภาษีและค่าเช่าที่ดิน-----------------------230.65-----470.16-------700.81--------10.23
-ค่าเสื่อมบ่อ เครื่องมือและอุปกรณ์--------------------------373.81-------373.81---------5.46
3.ต้นทุนทั้งหมด-----------------------------5,105.51----1,744.32-----6,849.83-----100.00
4.ผลผลิตต่อไร่ 800 ก.ก.
5.ราคาที่เกษตรกรขายได้ 15.83 บาทต่อก.ก.
6.รายได้ทั้งหมดเฉลี่ยต่อไร่ 12,664 บาท
7.รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อไร่ 6,888.79 บาท
8.กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร 5,814.17 บาท
9.ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อกิโลกรัม 8.56 บาท
10.กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อกิโลกรัม 7.27 บาท
11.ผลตอบแทนของการลงทุน 84.88 เปอร์เซนต์
12.ระยะเวลาเลี้ยง 10.50 เดือน
หมายเหตุ:ตัวเลขประเมิน ปี 2538
ที่มา:กลุ่มวิจัยสินค้าเกษตรกรรมที่ 2 สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร
ปลานิล Oreochromis nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน - 1 ปีสามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่าง ๆ อาทิเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิมผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ที่มาของข้อมูล
การเพาะเลี้ยงปลานิล
เอกสารคำแนะนำ
ฝ่ายเผยแพร่ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง
กรมประมง
nice one
ตอบลบ