ปลานิล Oreochromis nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน - 1 ปีสามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่าง ๆ อาทิเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิมผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก

ปลานิล เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบบริเวณลุ่มน้ำไนล์ ในบริเวณแอฟริกาตะวันออก จนถึงบริเวณลุ่มน้ำไนล์ตะวันตก บริเวณลุ่มน้ำเซเนกัลและไนเจอร์

ปลานิล เป็นพี่น้องร่วมตระกูลกับปลาหมอเทศที่เรารู้จักกันดีคือ ตระกูล Tilapia ด้วยเหตุนี้ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลานิลจึงมีชื่อว่า Tilapia niloticus ซึ่งบ่งบอกถึงลุ่มน้ำไนล์อันเป็นถิ่นกำเนิดอยู่ด้วย แต่ต่อมาด้วยเหตุผลทางด้านวิชาการบางประการ ปลานิลจึงมีชื่อใหม่เป็น Oreocromis niloticus แต่ก็ยังมีชื่อของลุ่มน้ำไนล์ติดอยู่เหมือนเดิม

ปลานิล เป็นปลาที่มีศักยภาพในด้านการเพาะเลี้ยงอยู่สูงมาก คือมีเนื้ออร่อยกว่าปลาน้ำจืดชนิดอื่นหลายชนิด สามารถกินอาหารธรรมชาติได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ มีความสามารถสูงในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี คือ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิน้ำ 10-40 องศาเซลเซียส และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพที่ถูกกักขังในที่แคบ เช่น บ่อเลี้ยงหรือกระชังได้ และสามารถเจริญเติบโตได้ดีเหมือนในธรรมชาติ

ด้วย คุณสมบัติดังกล่าว ปลานิล จึงถูกนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อและกระชังในหลายประเทศเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศที่มีอุณหภูมิหนาวจัดเท่านั้น เพราะปลานิลสามารถเข้ามาทดแทนความขาดแคลนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในบางประเทศที่ แห้งแล้งทุรกันดารได้เป็นอย่างดี จนได้ชื่อว่า “Aquatic Chicken” ปลานิล จึงกลายเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงในเกือบทุกประเทศ และเป็นปลาที่มีการเพาะเลี้ยงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยและของโลกด้วย

ปลานิลถูกนำเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นครั้ง แรกโดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิอากิฮิโต แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงจัดส่งปลานิลมาทูลฯถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 จำนวน 50 ตัว ในระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังสวนดุสิต ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเลี้ยงในบ่อดิน และได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ขุดบ่อดินเพิ่มขึ้นเพื่อขยายพันธุ์ปลานิลให้มากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมประมงมาคอยตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน

เมื่อ เลี้ยงปลานิลและขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นทุกทีจนครบ 1 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลูกปลานิล ขนาดความยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้กรมประมงไปเลี้ยงและขยายพันธุ์เพิ่มต่อไป และได้ทรงประทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล” ซึ่งคำว่า “นิล” นั้น นอกจากจะมีความหมายว่าเป็นอัญมณีที่มีค่าแล้ว ยังบ่งบอกถึงถิ่นกำเนิดของปลาชนิดนี้คือ แม่น้ำไนล์ (Nile) อีกด้วย

บทบาทด้านเศรษฐกิจของปลานิลในประเทศไทย

เมื่อ กรมประมงได้รับพระราชทานปลานิลมาแล้ว ก็ได้เร่งขยายพันธุ์ปลานิลตามสถานีประมงต่างๆ ทั่วประเทศอีก 15 แห่ง เพื่อขยายพันธุ์ไว้แจกจ่ายเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2510 เป็นต้นมา นับจำนวนได้หลายล้านตัว

ส่วนปลานิลที่คงเหลืออยู่ในบ่อวัง สวนจิตรลดา พระองค์ได้ทรงใช้ในการผลิตพันธุ์ปลานิลต่อมาโดยตลอด จนได้ปลานิลสายพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกและพากันเรียกว่า “ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา” (Chitrada Strain) ซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อวงการเพาะเลี้ยงปลานิลทั่วโลก

นับ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีโดยไม่หยุดยั้ง ทั้งนี้เพราะปลานิลเป็นปลาที่คนไทยนิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนปลาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้น ในช่วงแรกของการเพาะเลี้ยงปลานิลจนถึงช่วงกลางคือ พ.ศ. 2535 การบริโภคภายในประเทศจึงเป็นตลาดสำคัญของการเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย หลังจากนั้นการส่งออกปลานิลจึงเริ่มเกิดขึ้นและเติบโตในอัตราที่ค่อนข้างสูง มาโดยตลอด

ในขณะที่การเพาะเลี้ยงปลานิลมีการเติบโตในอัตรา ที่ค่อนข้างสูงโดยตลอด กรมประมงจึงต้องเตรียมการรองรับการขยายตัวดังกล่าวด้วยการปรับปรุงพันธุ์ปลา นิลให้มีรูปร่างและคุณสมบัติด้านต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่ชื่อว่า “จิตรลดา 3″ ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งมีลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ คือ

1. เพศ เป็นเพศผู้และเพศเมีย

2. รูปร่าง ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สันหนา

3. ผลผลิต ให้เนื้อสูงกว่าปลานิลพันธุ์ปกติ ร้อยละ 40

4. อัตรารอด สูงกว่าปลานิลพันธุ์ปกติ ร้อยละ 24

ใน ปัจจุบันนี้ ปลานิลพันธุ์จิตรลดา 3 นี่เองที่เป็นปลาพื้นฐานของการเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อส่งออก โดยนำลูกปลาจิตรลดา 3 มาแปลงเพศด้วยการให้กินฮอร์โมนตั้งแต่ถุงไข่แดงเริ่มยุบ จนกระทั่งลูกปลานิลมีอายุ 3-4 สัปดาห์ เพื่อแปลงเพศเมียให้เป็นเพศผู้ทั้งหมด เพราะปลานิลเป็นปลาที่เพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าและโตเร็วกว่าเพศเมีย รวมทั้งป้องกันการผสมพันธุ์ไม่ให้เกิดลูกปลานิลแน่นบ่ออีกด้วย

การเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก

การเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออกนั้น ต้องใช้วิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้องเหมาะสมทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ปลานิลที่มีขนาดและรูปร่าง ตลอดจนคุณภาพของเนื้อและซากที่ดีตามข้อกำหนดของผู้ส่งออก ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้

1. แบบของโกรเบสมารีน (บริษัท)

การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน

มีการเลี้ยงแล้วย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่อีก 2 ครั้งคือ ครั้งแรกเมื่อเตรียมบ่อดิน ตากบ่อให้แห้งอย่างน้อย 3 วัน แล้วใส่ปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อโรค และปรับคุณภาพน้ำแล้วสูบน้ำเข้าบ่อโดยผ่านการกรองน้ำ เพื่อป้องกันศัตรูทางธรรมชาติอย่างรอบคอบแล้วปล่อยลูกปลานิลแปลงเพศ ขนาดเท่าใบมะขาม ลงเลี้ยงในบ่อ ประมาณ 20,000 ตัว ต่อไร่ ใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนสูง 40% ในอัตราประมาณ 20% ของน้ำหนักปลา วันละ 5 มื้อ

เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 45 วัน ลูกปลามีน้ำหนักตัวละ 15-20 กรัม ก็ย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่ที่เตรียมไว้อย่างดีแล้ว ในอัตรา 15,000 ตัว ต่อไร่ โดยเรียกว่า การเลี้ยงปลานิลรุ่น โดยให้อาหารที่มีโปรตีนน้อยลง คือประมาณ 32% โดยให้อาหาร 3-5% ของน้ำหนักตัวปลา เมื่อเลี้ยงไปได้ 60-75 วัน จะได้ลูกปลาขนาดน้ำหนักตัว ประมาณ 100 กรัม ก็จะย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่ ในอัตรา 4,000-5,000 ตัว ต่อไร่ เรียกว่าการเลี้ยงปลาใหญ่ ให้อาหารที่มีระดับโปรตีน ประมาณ 28% ในอัตรา 2-3% ของน้ำหนักตัวต่อวัน

ซึ่งการเลี้ยงในบ่อนี้ ควรมีกังหันตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในตอนกลางคืนด้วย เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 5-6 เดือน จะได้ปลานิลขนาดน้ำหนัก 800-1,000 กรัม ก็จับขายได้

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง จำเป็นต้องคัดเลือกแหล่งน้ำที่จะใช้ลอยกระชังให้เหมาะสม ดังนี้

1. เป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำเพียงพอตลอดปีจะเป็นแหล่งน้ำเปิด คือ แม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำปิด เช่น อ่างเก็บน้ำก็ได้

2. มีความลึกได้น้อยกว่า 4 เมตร เพื่อให้สามารถลอยกระชัง ให้ก้นกระชังอยู่สูงกว่าก้นคลองได้ไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพื่อให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวก

3. เป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำค่อนข้างใส และมี pH ประมาณ 6.5-8.0 และค่าออกซิเจนในน้ำมีไม่น้อยกว่า 5 ppm.

4. ควรเป็นบริเวณโล่งแจ้ง มีวัชพืชในน้ำน้อยหรือไม่มีเลย

5. ไม่ขัดต่อกฎหมายกรมประมง

6. การคมนาคมสะดวก

7. ห่างไกลจากแหล่งน้ำเสียและชุมชนแออัด

รูปแบบกระชังปลานิลที่นิยมในปัจจุบัน

กระชังไม้

ไม่ ว่าจะเป็นไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็ง ส่วนใหญ่จะใช้ในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลไม่แรงนัก ขนาดที่นิยมใช้ ได้แก่ 3×3×2 เมตร และ 4×6×3 เมตร

ข้อดี คือ ต้นทุนต่ำ

ข้อเสีย คือ อายุการใช้งานสั้น ประมาณ 2-5 ปี

กระชังเหล็ก

นิยมใช้กันในแหล่งน้ำปิด หรือแหล่งน้ำเปิดที่มีกระแสไหลเชี่ยว ขนาดที่นิยมคือ 3×3×1.5 เมตร และ 4×6×2 เมตร

ข้อดี คือ อายุการใช้งานยาว

ข้อเสีย คือ ต้นทุนสร้างกระชังสูง

วิธีเลี้ยงปลานิลในกระชัง

ปล่อยลูกปลาแปลงเพศ ขนาดตั้งแต่ น้ำหนัก 30-40 กรัม ต่อตัว ในอัตราเฉลี่ยประมาณ 100 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร

อาหารและการให้อาหารปลานิล

ใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนประมาณ 28-30% เลี้ยงวันละ 3 มื้อ ในสัดส่วนประมาณ 5-6% ของน้ำหนักปลา หรือคอยสังเกตการกินอาหารของปลาในขณะให้อาหาร ถ้าหว่านอาหารลงไปแล้วปลาสามารถกินได้หมดภายใน 5-8 นาที ก็หยุดให้ เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 45 วัน จึงปรับอาหารให้มีโปรตีนต่ำลง ให้วันละ 3 มื้อ ประมาณ 3-5% ของน้ำหนักตัวไปอีก 1 เดือน จึงปรับเปลี่ยนอาหารที่มีระดับโปรตีนต่ำลงอีก 2-3% โดยให้วันละ 2-4 มื้อ เรื่อยไปจนปลาได้ขนาด 800-1,000 กรัม จึงจับขาย

ต้นทุนการเลี้ยงปลานิล

1. ค่ากระชังพร้อมแพ 5,500-6,000 บาท

(คิดค่าเสื่อมราคาต่อรอบการเลี้ยง 600 บาท)

2. ค่าพันธุ์ปลา 1,000 ตัวx3 บาท 3,600 บาท

3. ค่าอาหาร 26,600-30,400 บาท

4. อื่นๆ ประมาณ 1,000 บาท

รวมต้นทุนการเลี้ยงต่อรอบ 31,800-35,600 บาท

รวมต้นทุนตั้งแต่เริ่มเลี้ยง 36,700-41,500 บาท

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ปลา 1,000 กิโลกรัมx38 บาท ต่อกระชัง 38,000 บาท

หักต้นทุน 31,800-35,600 บาท กำไร 6,250-2,400 บาท

2. การเลี้ยงแบบเกษตรกร

แบบของคุณกบ แห่งดอนตูม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

คุณ กบ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ได้เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวมา 2-3 ปีแล้ว ในฟาร์มที่มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ในระยะแรก การเลี้ยงได้ผลดีมาก ได้ผลผลิตกุ้งขาวไร่ละประมาณ 5 ตัน ต่อไร่ แต่เมื่อเลี้ยงซ้ำๆ หลายรอบ ผลผลิตกุ้งก็ลดลงเรื่อยมาเป็นลำดับ จึงได้ปรับปรุงบ่อเลี้ยง โดยลอกบ่อให้ลึกมากขึ้นอีก จากความลึก 2.5 เมตร เป็นลึก 3-4 เมตร แล้วลองเลี้ยงดูใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่กลางฤดูหนาวที่เพิ่งผ่านมา

วิธีการเลี้ยงปลานิล

1. เตรียมบ่อเลี้ยง ขนาดเนื้อที่ 25 ไร่ ตากบ่อไว้ประมาณ 5-7 วัน ให้แห้งสนิท โรยปูนขาว ประมาณ 40 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วนำน้ำล้างคอกไก่มาใส่เพื่อเป็นปุ๋ยสำหรับสร้างอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งจุดนี้ผมพยายามให้ข้อคิดกับคุณกบว่า การใส่ปุ๋ยคอกโดยไม่มีหลักเกณฑ์ว่าจะต้องใส่ในปริมาณเท่าไร มากน้อยอย่างไร บางทีมันก็เหมือนดาบสองคม ถ้าใส่มากเกินไปอาจจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ และผลที่ตามมาก็คือลูกกุ้งจะเจ็บป่วยล้มตายลง โดยที่เจ้าของบ่ออาจไม่เฉลียวใจว่าเป็นเพราะปุ๋ยคอกที่ใส่มากเกินไป ก็มัวแต่ไปโทษว่าเป็นเพราะเกิดโรคระบาดขึ้น กุ้งจึงล้มตายลง ตามกระบวนการ ดังนี้ ใส่ปุ๋ยคอก น้ำเสีย กุ้งตายหรือใส่ปุ๋ยคอก น้ำเสีย เกิดโรค กุ้งตาย

ข้อเสียหรือจุดอันตรายอีกประการหนึ่งของการใส่ปุ๋ยคอกก็คือ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปมักมียาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าเชื้อโรคที่เจ้าของฟาร์มไก่หรือหมู มักใช้ทำความสะอาดคอกอยู่เป็นประจำ ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่กุ้งหรือปลาที่เราเลี้ยงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ผมจึงไม่แนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอกลงในบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ที่ใช้เวลานานหลายๆ เดือน เพราะลำพังของเสีย เศษอาหารที่เหลือ และซากแพลงตอนที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงนั้น ก็มากเกินพอที่จะทำให้เกิดการเน่าเสียของน้ำในบ่อได้อยู่แล้ว ถ้าเราเพิ่มปุ๋ยคอกเข้าไปอีก แล้วน้ำจะไม่เน่าเสียได้อย่างไร

2. เมื่อเติมน้ำและตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำเสร็จแล้ว จึงนำลูกกุ้งขาววัยอ่อนมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ 25 ไร่ จำนวน 500,000 ตัว หรือประมาณ 20,000 ตัว ต่อไร่

3. เมื่อปล่อยลูกกุ้งลงบ่อแล้วประมาณ 10 วันขึ้นไป จึงปล่อยลูกปลานิลที่แปลงเพศแล้วขนาดเท่าใบมะขาม จำนวน 2,000-3,000 ตัว ต่อไร่ ตามลงไป ก่อนปล่อยควรตรวจสอบลูกกุ้งที่ปล่อยไว้ว่ามีขนาดโตพอที่จะไม่ถูกปลานิลกิน ได้แล้วเสียก่อน มิฉะนั้น ลูกปลานิลจะกินลูกกุ้งเสียจนเกือบหมด

4. กางกระชัง ขนาด 7.0×15.0×2.50 เมตร ในบ่อ จำนวน 60 กระชัง หรือประมาณ 2 กระชัง ต่อเนื้อที่บ่อ 1 ไร่ ปล่อยปลานิลแปลงเพศ ขนาด 4 ตัว ต่อกิโลกรัม ลงเลี้ยงในกระชังประมาณ 1,500 ตัว ต่อกระชัง

5. การให้อาหาร ให้อาหารเฉพาะปลานิลที่เลี้ยงในกระชังเท่านั้น ส่วนกุ้งและปลานิลที่เลี้ยงนอกกระชังไม่ต้องให้อาหาร อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลานิลใหญ่ที่ระดับโปรตีน ประมาณ 28% วันละ 2-3 มื้อ รวมประมาณ 2-3% ของน้ำหนักปลาในกระชัง

6. ปลานิลที่เลี้ยงในกระชัง ใช้เวลาประมาณ 60-70 วัน ปลาจะโตได้ขนาดตัวละ 600-700 กรัม (6-7 ขีด) ถ้าขายให้ผู้ค้าในท้องถิ่นนั้นจะได้กิโลกรัมละ ประมาณ 50 บาท แต่ถ้าขายให้ผู้รวบรวมปลาส่งห้องเย็นจะขายได้ราคาถูกกว่า และได้เงินล่าช้ากว่าผู้ค้าในท้องถิ่น ประมาณ 30 วัน

ส่วนกุ้งขาว และปลานิลนอกกระชังก็เลี้ยงต่อไป จนได้อายุประมาณ 7-8 เดือน จึงจับขึ้นขาย กุ้งขาวขนาด 30-40 ตัว ต่อกิโลกรัม ขายได้ 200 บาท ต่อกิโลกรัม

7. ผลประกอบการ คุณกบไม่ได้แจ้งว่ามีกำไร หรือขาดทุนเท่าไร บอกแต่เพียงว่า ปัจจุบันกำไรไม่ดีเหมือนเมื่อ 2-3 ปี ที่ผ่านมา

8. ปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยง ปลานิลเริ่มเป็นโรคอันเกิดเชื้อบัคเตรี ที่ชื่อ Streptococcus sp. ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนไม่เคยเกิดโรคนี้

แบบคุณบุญลือ แห่งดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

เกษตรกร รายนี้เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งก้ามกราม ขนาดเนื้อที่ฟาร์ม 30 ไร่ แบ่งเลี้ยงเป็น 7 บ่อ และเลี้ยงปีละ 2 รอบ โดยหยุดเลี้ยงในช่วงฤดูหนาว เริ่มเลี้ยงแบบนี้มาได้ 2-3 ปีแล้ว บ่อที่เลี้ยงมีความลึกเพียง 1.5 เมตร เท่านั้น ดังนั้น ในช่วงหน้าร้อนจึงต้องตีน้ำช่วยตลอดเวลา ผิดกับการเลี้ยงของคุณกบที่ใช้บ่อลึกถึง 3-4 เมตร และเลี้ยงได้ตลอดปี ไม่ต้องตีน้ำช่วย

วิธีการเลี้ยงปลานิล

1. เตรียมบ่อ ตากบ่อให้แห้ง ใส่ปูนขาว แต่ไม่ใส่ปุ๋ยคอก แล้วกางกระชังโดยใช้วิธีปักหลัก 4 มุม กับพื้นบ่อ ใช้กระชัง ขนาด 7×15×1.5 เมตร ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับของคุณกบ แต่มีความลึกของกระชังน้อยกว่าคุณกบ 1 เมตร ในอัตราส่วน 1-2 กระชัง ต่อเนื้อที่บ่อ 3 ไร่

2. เติมน้ำลงบ่อให้ได้ระดับที่ต้องการ ปรับสภาพน้ำให้เหมาะสม ตีน้ำไว้ล่วงหน้า 2-3 วัน

3. ปล่อยปลานิลดำแปลงเพศ ขนาด 4 ตัว ต่อกิโลกรัม ลงเลี้ยงในกระชัง กระชังละ 1,100-1,200 ตัว

4. ปล่อยกุ้งก้ามกรามไม่แยกเพศ ขนาด 200 ตัว ต่อกิโลกรัม ลงภายในบ่อ (นอกกระชัง) ในอัตราไร่ละ 10,000 ตัว

5. ปลานิลในกระชัง เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีนสูง ประมาณ 30-35% ที่ใช้เลี้ยงปลาทับทิม แต่ถ้าให้อาหารสำหรับเลี้ยงปลานิลดำ ปลาจะโตช้ามาก เมื่อเลี้ยงไปครบ 80-90 วัน ปลานิลจะโตได้ขนาดตัวละ 900-1,100 กรัม ก็จับขึ้นมาขายได้

ราคาขายปลานิล ขนาด 600 กรัม ขึ้นไป กิโลกรัมละ 55 บาท ขนาดเล็กกว่านี้ได้กิโลกรัมละ 35 บาท

6. ส่วนกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงไว้อยู่นอกกระชัง คุณบุญลือจะให้อาหารทุกวัน โดยใช้อาหารกุ้งของ CP สลับกับอาหารที่ปรุงขึ้นเอง จนครบ 6 เดือน ถ้าสังเกตเห็นว่ากุ้งตัวเมียเริ่มมีไข่ติดหน้าท้อง ก็จะจับกุ้งเพศเมียขึ้นมาขายก่อน ซึ่งจะมีขนาด 40 ตัว ต่อกิโลกรัม ขายได้ราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท ส่วนกุ้งตัวผู้จะเลี้ยงต่ออีก 1 เดือน จึงจับขึ้นขาย จะได้กุ้งขนาด 12-13 ตัว ต่อกิโลกรัม ราคา 180 บาท ต่อกิโลกรัม ถ้าเลี้ยงต่อไปอีก 1 เดือน จะได้กุ้งขนาด 10-11 ตัว ต่อกิโลกรัม ราคาจะดีขึ้นถึง 200 บาท ต่อกิโลกรัม

7. ผลประกอบการ มีกำไรเกือบทุกปี โดยแยกออกเป็น

ผลกำไรจากปลานิล ปีละประมาณ 70,000-80,000 บาท

ผลกำไรจากกุ้งก้ามกราม ปีละประมาณ 200,000-300,000 บาท

3. การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึก ตามแบบ คุณสมบูรณ์ กวีวิวัฒน์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

คุณ สมบูรณ์ เล่าให้ฟังว่า ตนเริ่มศึกษาทดลองการเลี้ยงปลามาสิบกว่าปีแล้ว ควบคู่ไปกับการทำโรงงานผลิตเส้นขนมจีนขาย ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลัก ปลาที่เลี้ยงมีหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลาดุก ปลาหมอไทย และปลานิล ต่อมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จึงได้เริ่มทดลองเลี้ยงปลาบึกดูบ้าง โดยสั่งซื้อลูกปลาบึกจากฟาร์มวังปลาบึกของผมไปเลี้ยง และได้ทดลองเลี้ยงปลาบึกรวมกับปลาดุกบ้าง และเลี้ยงร่วมกับปลานิลบ้าง ตามนิสัยที่ชอบศึกษาและทดลองของเขา และได้เฝ้าสังเกตเก็บข้อมูลต่างๆ มาโดยใกล้ชิดตลอดเวลา 5 ปี ที่ทดลองมา ในปีนี้คุณสมบูรณ์ก็ได้ข้อสรุปอันสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการ เลี้ยงสัตว์น้ำอยู่ 2 ประการ คือ

1. ปลาบึก สามารถเลี้ยงได้ในน้ำกร่อย

คุณสมบัติ อันเยี่ยมยอดของปลาบึกข้อนี้ แม้แต่ผมเองซึ่งคลุกคลีอยู่กับปลาบึกมาเกือบ 30 ปี ก็ยังไม่เคยทราบมาก่อน จึงรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง และเพิ่มความรู้สึกนับถือปลาบึกมากขึ้นกว่าเดิมอีกเยอะ ในความสามารถอันหลากหลายประการของปลาบึก จึงพยายามซักถามรายละเอียดเพิ่มขึ้น ซึ่งคุณสมบูรณ์เองก็มิได้รังเกียจที่จะเผยแพร่ความรู้ให้ฟังว่า มันเป็นการพบโดยบังเอิญ โดยที่คุณสมบูรณ์มีอาชีพหลักคือ การทำเส้นขนมจีนขาย และในกระบวนการผลิตเส้นขนมจีนนั้น ในบางขั้นตอนต้องใช้เกลือเป็นจำนวนค่อนข้างมาก ดังนั้น น้ำที่ใช้ในโรงงานขนมจีนที่ระบายลงบ่อเลี้ยงปลาบึกที่อยู่ใกล้กับโรงงานจึง มีรสเค็ม พอผมถามว่าเค็มมากน้อยแค่ไหน คุณสมบูรณ์ก็บอกว่าไม่มีเครื่องวัดความเค็ม แต่ชิมดูก็รู้สึกว่าเค็มมากจนรู้สึกได้ เพราะน้ำจากโรงงานขนมจีนจะถูกระบายลงในบ่อนี้ทุกวัน ที่มีการทำเส้นขนมจีน เมื่อถามถึงการเจริญเติบโตของปลาบึก คุณสมบูรณ์บอกว่าโตได้ปีละประมาณ 5 กิโลกรัม เพราะเลี้ยงรวมกับปลานิล และไม่ได้ให้อาหารแก่ปลาบึกโดยตรง

ประสบการณ์ ข้อนี้ของคุณสมบูรณ์ จึงเป็นคำตอบอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาบึกในบ่อเลี้ยงกุ้ง เก่าตามแถบชายทะเล ซึ่งเมื่อก่อนนี้ผมยังไม่กล้าที่จะตอบคำถามของเกษตรกรหลายๆ ท่านที่ถามว่า จะเลี้ยงปลาบึกในบ่อเลี้ยงกุ้งเก่าที่เลิกกิจการไปแล้วได้หรือไม่ ก็เป็นข้อสรุปได้แล้วว่าเลี้ยงได้ แต่ควรเริ่มตั้งแต่ความเค็มน้อยๆ ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเค็มขึ้นจนถึงระดับที่ใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำได้ ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสปลาบึกค่อยๆ ปรับตัวให้คุ้นเคยกับความเค็มที่เพิ่มขึ้นเสียก่อน

2. เลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึก เพื่อลดกลิ่นเหม็นโคลนในตัวปลานิลได้ดี

คุณ สมบูรณ์เล่าให้ฟังว่า ได้เฝ้าสังเกตมานานแล้วพบว่า บ่อเลี้ยงปลานิลที่เลี้ยงปลาบึกร่วมอยู่ด้วยนั้น น้ำในบ่อมักจะใสสะอาด และมีสีเขียวอ่อนกว่าบ่อที่เลี้ยงแต่ปลานิลเพียงอย่างเดียว และปลานิลไม่มีกลิ่นเหม็นโคลน ดังนั้น เพื่อให้หายกังขา เขาจึงลงมือทดลองเปรียบเทียบ ตามแบบฉบับของนักวิชาการเสียเลย โดยทดลองเลี้ยงปลานิลเพียงอย่างเดียว จำนวน 2 บ่อ และเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึกอีก 2 บ่อ เพื่อเปรียบเทียบผลโดยปล่อยปลาบึกลงเลี้ยง ในอัตรา 100 ตัว ต่อไร่ เมื่อเลี้ยงไปได้ 7-8 เดือน ก็จับปลานิลขาย ส่วนปลาบึกก็ย้ายไปเลี้ยงต่อในบ่ออื่นต่อไป ปรากฏว่าปลานิลที่เลี้ยงแบบชนิดเดียวล้วนๆ ก็ยังมีกลิ่นโคลนอยู่อย่างเดิม ส่วนปลานิลที่เลี้ยงร่วมกับปลาบึกนั้น ไม่มีกลิ่นเหม็นโคลนเลย

ผมแกล้งถามว่า ก่อนทดลองมีเจ้าพ่อเจ้าแม่องค์ไหนมาเข้าฝันแนะนำให้ทดลองหรือว่าคิดขึ้นเอง คุณสมบูรณ์ก็ตอบว่า ไม่มีใครเข้าฝันหรอก แต่อาศัยความช่างสังเกต แล้วเห็นว่าบ่อที่เคยเลี้ยงปลาบึกมาก่อนนั้น น้ำในบ่อมักจะค่อนข้างใส มีสีเขียวน้อยกว่าบ่อที่เลี้ยงปลาชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น เมื่อวิดบ่อจับปลาขึ้นแล้ว บ่อที่เลี้ยงปลาบึกก้นบ่อจะสะอาด แทบไม่มีโคลนเลนเหลืออยู่เหมือนบ่อปลาชนิดอื่นๆ และยังสังเกตว่าตำแหน่งลูกตาปลาบึกนั้นอยู่ต่ำมาก แสดงว่าปลาบึกต้องชอบหากินตามก้นบ่อมากกว่าปลาชนิดอื่นๆ เมื่อปลาบึกมีนิสัยชอบหากินตามก้นบ่อแล้ว ก็กินเศษซากต่างๆ ที่สะสมทับถมอยู่ที่ก้นบ่อเป็นอาหารทุกวัน ก้นบ่อก็จะต้องสะอาด น้ำก็จะพลอยสะอาดไปด้วย เมื่อน้ำสะอาดแล้ว ปลานิลก็จะไม่มีกลิ่นเหม็นโคลนใช่ไหม? ครับ พี่แกอ้างทฤษฎีเรขาคณิต สอดรับกันเป็นทอดๆ อย่างนี้ เป็นใครก็ต้องยอมรับแล้วละครับว่า “แน่จริง” เพราะพี่แกสามารถใช้ปลาขงเบ้งฮื้อ มาทำหน้าที่เป็นภารโรงในบ่อเลี้ยงปลาให้แกได้นั่นเอง

เสน่ห์ ผลประสิทธิ์
วันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 454
http://kasetonline.com

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

"จิตรลดา3" ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ ความสำเร็จของการพัฒนา

"จิตรลดา3" ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ ความสำเร็จของการพัฒนา

"ปลานิลจิตรลดา 3" เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากกำลังเป็นที่นิยมของเกษตรกรในการนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่าย ด้วยคุณลักษณะของเนื้อปลาที่ขาวสะอาด น่ารับประทาน และมีรสชาติดี อีกทั้งยังเลี้ยงง่ายและโตเร็ว สามารถจำหน่ายได้ราคา 30 บาท/กก. ในขณะที่ปลานิลพันธุ์พื้นเมืองจะจำหน่ายกันอยู่ที่ราคา 12-15 บาท/กก. ประกอบกับภาคเอกชนได้พัฒนาคุณภาพการเพาะเลี้ยง การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป้นเนื้อปลาแช่สด แช่แข็ง เนื้อปลาชุบเกล็ดขนมปัง และเนื้อปลาปรุงรส จนสามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ทั้งกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐ และญี่ปุ่น มีปริมาณโดยรวมถึงปีละ 90,000 ตัน

ดร.สิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง กล่าวว่าปลานิลจิตรลดา 3 ถือเป็นความสำเร็จของกรมประมง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ ที่ได้มีการพัฒนาพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 จนได้ลักษณะเด่น 3 ประการ คือหัวเล็ก เนื้อมาก และโตเร็ว พร้อมทั้งได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อประกอบอาชีพและสร้างรายได้ ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา

ปลานิลจิตรลดา 3 ของกรมประมงนั้นเป็นปลานิลที่สืบสายพันธุ์มาจาก "ปลานิล GIFT (Gernetic Improvement of Farmed Tilapias) ซึ่งมีประวัติการพัฒนาพันธุ์มาจากประชากรปลานิลสายพันธุ์ต่าง ๆ 8 สายพันธุ์ จาก 8 ประเทศ คือไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน อิสราเอล อียิปต์ กานา เซเนกัล และเคนยา ด้วยการผสมข้ามประชากรแล้วคัดเลือกเฉพาะปลาที่มีลักษณะที่ต้องการ เพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในรุ่นต่อไปโดยหน่วยงาน ICLARM ในประเทศฟิลิปปินส์"

ด้านนายสมชาติ สุขวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กล่าวว่า สถาบันฯ ได้นำปลานิล GIFT เข้ามาทดสอบในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2537 - 2539 พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าปลานิลพันธุ์พื้นเมืองถึง 40 % จึงส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงจนแพร่หลาย

"ขณะนี้ทางสถาบันฯ กำลังทำการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 ด้วยการคัดเลือกต่อไปอีก เพื่อพัฒนาพันธุ์ให้มีลำตัวหนาขึ้น มีปริมาณเนื้อมากขึ้น ทั้งนี้ ก็เพื่อรองรับการแปรรูปเนื้อปลาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงการนำหนังปลาจิตรลดา 3 มาฟอกย้อมเป็นเครื่องหนัง ซึ่งล่าสุดภาคเอกชนได้มีการทดลองผลิตสินค้าจากหนังปลานิลจิตรลดา 3 แล้วได้ผลเป็นอย่างดี" นายสมชาติกล่าว

นอกจากนี้ยังได้จัดทำ "ปลานิลจิตรลดา 3 แปลงเพศ" ซึ่งเป็นพันธุ์ปลานิลที่ได้รับการแปลงเพศให้เป็นเพศผู้ล้วน เหตุผลก็เพราะปลานิลเพศผู้โตเร็วกว่าเพศเมีย ซึ่งปัจจุบันลูกปลานิลจิตรลดา 3 แปลงเพศของสถาบันฯ กำลังเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผุ้เลี้ยงปลาเป็นอย่างมาก เพราะมีอัตราจำนวนเพศผู้สูงถึง 95-99% และเมื่อนำไปเลี้ยงจากลูกปลาขนาด ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 6 เดือน จะได้ขนาดตัวตั้งแต่ 800 กรัม ถึง 1 ก.ก. ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมในการแปรรูป และทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในขณะที่ปลานิลพันธุ์พื้นเมืองต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงถึงประมาณ 10-12 เดือน จึงจะสามารถจับขึ้นมาจำหน่ายได้

แนวโน้มการส่งออกของปลานิลจิตรลดา 3 ยังสามารถขยายการส่งออกไปได้อีกมาก ด้วยลักษณะของเนื้อปลาที่ขาวสะอาดและมีรสชาติดี ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะชาวยุโรปและอเมริกัน ประกอบกับกำลังการผลิตภายในประเทศยังไม่เพียงพอ ในขณะเดียวกัน การส่งออกเนื้อปลานิลและผลิตภัณฑ์ปลานิลแปรรูปยังไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากสัตว์น้ำประเภทอื่น ๆ ที่มีปัญหาในเรื่องของการกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้า จึงเชื่อว่าในอนาคตปลานิลจิตรลดา 3จะเป็นสัตว์น้ำที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยอีกชนิดหนึ่ง

สำหรับเกษตรกรรายใดที่ต้องการรายได้เสริม หรือต้องการประกอบอาชีพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ "ปลานิลจิตรลดา 3"จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ จ.ปทุมธานี โทร. 0-2577-5058-60


ที่มา:http://www.news.cedis.or.th

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประมงดันไทยส่งออกปลานิลที่หนึ่งของโลก

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้จัดงานสัมมนา “ร่างยุทธศาสตร์ การพัฒนาปลานิลและแผนปฏิบัติงานโครงการยกระดับมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ภายใต้แผนปฏิบัติการ : ไทยเข้มแข็ง 2555” ขึ้นเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่กรมประมง ผู้แทนเกษตรกร ชมรม/สมาคมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการโรงงานแปรรูป ให้รับทราบถึงวิธีปฏิบัติงานให้สอดรับกับโครงการดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยกรมประมงได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวนทั้งสิ้น 379 ล้านบาท มีระยะดำเนินการ 3 ปี (2553-2555) นอกจากนี้ยังได้ลงนามบันทึกความตกลงในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันกับบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพปลานิลจากฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ที่ต้องการพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน GAP และร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมประมง เพื่อที่จะผลักดันอุตสาหกรรมปลานิลไทยให้ก้าวสู่ชั้นแนวหน้า

ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารสินค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ฯ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การผลิตปลานิลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมีการกำกับดูแลให้การดำเนินการเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่ได้ตั้งเป้าไว้ ในเบื้องต้นถือว่าประสพผลสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารการเพาะเลี้ยงปลานิลและผลิตภัณฑ์ และมีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ใหม่และยกระดับปลานิลให้เป็นสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญในระดับกระทรวงฯ และจัดให้เป็นสัตว์น้ำที่มีศักยภาพสำหรับการที่จะส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมงตามนโยบายเศรษฐกิจภาคการเกษตรของรัฐบาล โดยได้ให้กรมประมงส่งเสริมและพัฒนาการผลิตในทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยได้มาตรฐานสากลเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ที่มา:หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- จันทร์ที่ 21 กันยายน 2552 09:39:38 น.
http://www.ryt9.com

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยมูลแพะ

หลักการและเหตุผล
................ เพื่อศึกษาแนวทางการใช้มูลแพะให้เกิดประโยชน์สูงสุด และศึกษาการเกื้อกูลกันต่อการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการ ของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์
..............1. เพื่อศึกษาผลตอบแทนรายได้ทางเศรษฐกิจที่ไม่จำเป็นต้องใช้ต้นทุนที่สูง
..............2. เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากมูลแพะ
..............3. เพื่อศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์ของมูลแพะในรูปแบบสร้างมูลค่าเพิ่ม

เป้าหมาย
..............1. สามารถใช้มูลแพะเลี้ยงปลาชนิดกินพืชได้จริง
..............2. สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรผู้ปฏิบัติ
..............3. สามารถผลิตแหล่งโปรตีนจากปลาที่มีคุณภาพ

ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2550 – 1 พฤษภาคม 2551

สถานที่ศึกษา พื้นที่โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง


มูลแพะ
................... มูลแพะอาจจะถูกใช้ทำปุ๋ย หรือใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำหรับเกษตรกรในชนบท ประมาณว่าแพะขนาด 18 กิโลกรัม สามารถผลิตมูลได้ 47 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งในมูลแพะนี้จะมีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อยู่ประมาณร้อยละ 15, 15 และ 3 ตามลำดับ

ชนิดของมูลสัตว์
Water Content
สารอาหารหลัก (%)
Nitrogen (N
Phosphate (P)
Potash (K)
วัว ม้า
60-80%
5.4-6.4
2.3-4.5
4.5-5.4
แกะ หมู แพะ
65-75%
4.5-9.5
3.2
5.9-8.6
คุณค่าของมูลแพะทางวิชาการ
ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารเฉลี่ยสำหรับพืชที่มีในมูลสัตว์แห้งชนิดต่างๆ


ที่มา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมร่วมกับ.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม


รายละเอียดการเลี้ยงปลานิลด้วยมูลแพะ

เริ่มต้นโครงการ 1 พฤษภาคม 2550
ระยะเวลาการทดลอง 1 พฤษภาคม 2550 – 1 พฤษภาคม 2551







เดือนที่ทดลอง
ปริมาณมูลแพะที่ใช้
ขนาดและจำนวนปลานิล
สุ่มน้ำหนัก
ครั้งที่ 1
สุ่มน้ำหนัก
ครั้งที่ 2
สุ่มน้ำหนัก
ครั้งที่ 3
สุ่มน้ำหนัก
ครั้งที่ 4
หมายเหตุ
1 พ.ค.50
2% / จำนวนปลา
0.5 กก./1,000 ตัว/วัน
40 ตัว/กก.(1,000 ตัว)

1 ก.ค.50
เพิ่ม 2%
0.8 กก./วัน
25-30 ตัว/กก.

1 ต.ค.50
เพิ่ม 3%
1กก./วัน
15-20 ตัว/กก.

1 ม.ค.51
เพิ่ม 3%
1.2 กก./วัน
7-10 ตัว/กก.

1 พ.ค.51

หมายเหตุ จากการนำปลานิลขนาด 7-10 ตัว/กก. ทำการศึกษาซาก พบว่าปลานิลมีสภาพสมบูรณ์ ไม่ผอม เจริญเติบโตเป็นไปอย่างธรรมชาติ เนื้อมีมันแทรก
..................รสชาติดี ไม่มีกลิ่นแปลกปลอม (กรณีปรุงอาหาร)


ที่มา
http://www.dld.go.th

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

วิธีเพาะพันธุ์ปลานิลอย่างง่าย

วิธีเพาะพันธุ์ปลานิลอย่างง่าย
วันที่ส่ง SMS : 21 ธันวาคม 2552
รอบเวลาที่ส่ง : 09:30 น.
ข้อความ :

ปลา(1)วิธีเพาะพันธุ์ปลานิลอย่างง่ายใช้กระชังมุ้งเขียวขนาด5*5ม.ลึก2-2.5ม
ปลา(2)ปล่อยพันธุ์ปลานิลกระชังละ1คู่คอยสังเกตหากมีลูกปลาให้ช้อนพ่อแม่ออก



สำหรับผู้ที่สนใจเลี้ยงปลาส่วนมากมักจะมีความจำเป็นที่จะต้องซื้อพันธุ์ปลา จากแหล่งเพาะพันธุ์มาเลี้ยง แต่สำหรับผู้นำเกษตรกรคนเก่ง แห่งบ้านพุละมะลอก นายบำรุง เปรมทอง ได้คิดหาวิธีการที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ลูกปลานิล ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้ทำการเกสรแบบผสมผสาน เพราะช่วยลดต้นทุนการซื้อพันธุ์ปลา และยังสามารถจำหน่ายลูกปลาเป็นรายได้เสริมด้วย






อุปกรณ์
1.กระชังมุ้งเขียวขนาด 5x5 เมตรลึก 2.40 เมตร จะต้องใช้กระชังเก่าที่มีตะไคร่น้ำเกาะ
2.หินก้อนใหญ่มากๆ ใส่ลงไปในมุ้งให้กระชังติดพื้นก้นบ่อ
3.ใส่พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ 1 คู่
ขั้นตอนการเพาะพันธุ์
-คัดเลือกพ่อพันธุ์ โดยเลือกพ่อพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ปราดเปรียวแข็งแรง ปลาตัวผู้จีมีสีออกแดง ตามลำตัว และหางแดงด้วย
-คัดเลือกแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ตัวป้อมกลม และมีไข่เต็มท้อง
-ใส่ลงไปในกระชังๆละ 1 คู่ ปล่อยให้ผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ
-เมื่อเริ่มสังเกตเห็น ลูกปลานิล ขนาดเท่าหัวไม้ขีด ให้ช้อนเอาพ่อแม่พันธุ์ออกจากกระชังมุ้งเขียว แล้วอนุบาลโดยให้รำเป็นอาหาร

หมายเหตุ
วิธีการนี้สามารถใช้กับปลาทับทิมได้
ต้องตักปลากินเนื้อออกจากบ่อทั้งหมดเพราะจะเป็นศัตรูของลูกปลา


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร * 1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชัยนาท
http://www.rakbankerd.com

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผลการวิจัยสรรพคุณปลานิลจากการเพาะเลี้ยง

ศ. Robert Ackman จาก ม. Dalhousie มณฑล Nova Scotia ภาคตะวันออกของแคนาดาพบว่าปลานิลจากการเพาะเลี้ยง มีอัตราของสารโอเมกา 3 น้อยกว่าสารโอเมกา 6 โดยโอเมกา 6 นั้น ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบหลอดเลือด รวมถึงเนื้อเยื่อของอวัยวะภายในต่างๆ ในร่างกาย โดยมีรายงานของ American Dietetic Association ระบุว่าสารโอเมกา 6 เป็นสารที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ แต่ได้รับจากการบริโภค ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีผลเสีย เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหอบหืดได้

ศ. Ackman ทำการศึกษาปลานิลที่นิยมเลี้ยงกันทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศจีน และโตรอนโตถือเป็นตลาดปลานิลที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาเหนือ ผู้คนนิยมบริโภคปลาเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น แต่ไม่ค่อยมีผู้ที่ตระหนักถึงความแตกต่างของแต่ละชนิดของปลา และความแตกต่างของการเพาะเลี้ยงที่เป็นสาเหตุให้ปลามีความแตกต่างกันทางโภชนาการ และยังมีบทวิจัยจาก Medicine in North Calorina ที่กล่าวว่าปลานิลไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก

บทวิจัยได้กล่าวไว้ว่า ปลานิลที่มาจากการเพาะเลี้ยงจะมีสารโอเมกา 6 ที่มากเกินไป ซึ่งก่ออันตรายแต่ร่างกายมนุษย์ แต่ผลการทดลองไม่ได้กล่าวถึงการเปรียบเทียบระหว่างปลานิลเลี้ยงกับปลานิลตามธรรมชาติ โดยเปรียบเทียบระหว่างปลานิลเลี้ยงกับปลาเลี้ยงชนิดอื่นๆ

นอกจากนี้ยังพบว่า ปลานิลเลี้ยงมีสารโอเมกา 3 ที่น้อยเกินไปอีกด้วย (มีน้อยกว่าครึ่งกรัม ในน้ำมันปลา 100 กรัม) ในขณะที่ปลาแซลมอน และปลาเทร้าเลี้ยง ให้สารโอเมกา 3 ในอัตราที่มากกว่า และปลานิลเลี้ยงยังให้สารโอเมกา 6 ที่มากกว่าโดนัท เบคอน และแฮมเบอร์เกอร์อีกด้วย

ศ. Ackman สรุปว่า ผู้บริโภคจำเป็นต้องตระหนักถึงการบริโภคปลาโดยคำนึงถึงชนิด และปริมาณที่ ควรบริโภค แต่ยังขาดการศึกษาในด้านนี้เผยแพร่ต่อสาธารณชน ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้จักเลือกปลาที่ถูกต้องและเหมาะสม ฉะนั้นหากเป็นไปได้ ควรบริโภคปลาตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีประโยชน์มากกว่าปลาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะเสี่ยงต่อสารปรอทปนเปื้อนก็ตาม

(ที่มา: สอท. ออตตาวา 11 สิงหาคม 2551)
http://www.ostc.thaiembdc.org

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปลานิลสัญจร เกษตรกรพบผู้ส่งออก' ขยายผลผลักดันสู่การส่งออกอย่างเป็นรูปธรรม

ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริหารสินค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วยกรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล โรงงานผลิตอาหารปลา และโรงงานแปรรูปปลานิลได้ร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารสินค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกขึ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2551-2554 เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตปลานิลตามมาตรฐานระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม และขยายช่องทางตลาดการส่งออกปลานิลให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการ ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว ทางกรมประมงจึงได้กำหนดจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มศักยภาพการผลิตปลานิลเพื่อการส่งออก “ปลานิลสัญจร เกษตรกรพบผู้ส่งออก” ขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยแล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งผลของการสัมมนาทั้ง 5 ภูมิภาคนั้น ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้ง 5 ครั้งรวมกว่า 1,883 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 1,167 คน เจ้าหน้าที่กรมประมง 493 คน ผู้แทนโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ 86 คน ผู้แทนสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย 21 คน และสื่อมวลชนอีก 69 คน ซึ่งในแต่ละครั้งทุกฝ่ายได้ใช้เวทีการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลและความคิดเห็นระหว่างกันทำให้เกษตรกรได้รับทราบข้อมูลและสถานการณ์ที่แท้จริงจากผู้แปรรูปโดยตรง ตลอดจนมีความเข้าใจในเรื่องของการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง อันจะเป็นการพัฒนาให้เกิดระบบการซื้อขายโดยตรง ระหว่างเกษตรกรและผู้แปรรูปได้ในอนาคต

“การประเมินผลการจัดสัมมนาฯ ทั้ง 5 ภูมิภาค กล่าวได้ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นอย่างดี เนื่องจากทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือและช่วยกันผลักดันยุทธศาสตร์ฯ อย่างเต็มที่ ส่งผลให้กรมประมงได้รับทราบข้อมูลปัญหาอุปสรรคและได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการดำเนินการเพิ่มศักยภาพการผลิตปลานิลเพื่อการส่งออกต่อไป” ดร.จิราวรรณ กล่าว

รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า จากประเด็นปัญหาที่ได้รับทราบทั้งหมด กรมประมงจึงได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์บริหารสินค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1.เร่งดำเนินการให้การรับรองมาตรฐานระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์มของฟาร์มปลานิล 2.เพิ่มผลผลิตและส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลพันธุ์ดี 3.พัฒนาสายพันธุ์ปลานิลให้มีความต้านทานโรค โตเร็ว และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร 4.ลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิล โดยการพัฒนาสูตรอาหาร กำหนดแนวทางในการให้อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตอาหาร และการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือจากกระบวนการแปรรูป 5.ส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกร ทั้งในด้านการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยง การป้องกันโรค และการดูแลรักษาหลังการจับ 6.จัดตั้งเครือข่ายศูนย์ข้อมูลปลานิลและ จัดทำระบบการตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสินค้าปลานิล 7.ประสานสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง ไทยเพื่อคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมในการจัดทำระบบการซื้อขายตรง เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก

ปลานิลเป็นปลาที่สามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง ในประเทศซูดาน ยูกันดา และทะเลสาบแทนแกนยิกา ในประเทศแทนซาเนีย ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

ผลการทดลอง ปรากฏว่าปลาเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า “ปลานิล” โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้แก่กรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายข้อ คือ กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 มิถุนายน 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=201160&NewsType=1&Template=1

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

ราคาขายปลีกสินค้าเกษตร ปลานิล (2-3 ตัว/กก.) (กก.)

ปีม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.เฉลี่ย
253927.50 27.50 27.50 27.50 27.50 27.50 27.50 28.45 35.00 35.00 35.00 35.00 30.08
254035.00 35.00 35.00 35.00 35.00 35.00 35.00 35.00 35.00 35.23 40.00 40.00 35.85
254140.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00
254240.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00 40.00
254335.75 35.00 35.00 35.00 35.00 35.00 35.00 35.00 38.33 30.00 37.50 37.50 35.34
254437.50 37.50 37.50 37.50 37.50 37.50 37.50 37.50 37.50 37.50 37.50 37.50 37.50
254537.50 37.50 37.50 37.50 37.50 35.00 32.50 32.50 32.50 32.50 32.50 32.50 34.79
254632.50 32.50 32.50 32.50 32.50 32.50 32.50 32.50 32.50 32.50 32.50 40.00 33.13
254740.00 41.00 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.17
254842.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50
254942.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 42.50 44.32 45.00 42.86
255045.00 45.00 45.00 47.35 47.50 47.50 47.50 47.50 47.50 47.50 47.50 47.50 46.86
255147.50 47.50 47.50 47.50 47.50 47.50 47.50 49.00 52.50 52.50 52.50 52.50 49.29
255256.50 59.34 63.75 65.00 65.00 65.00 65.00 65.00 65.00 65.00 65.00 65.00 63.72
255365.00 - - - - - - - - - - - 65.00

















ที่มา
http://trade.dit.go.th/pricestat/report2.asp?mode=A&product=531









ที่มาของข้อมูล

การเพาะเลี้ยงปลานิล
เอกสารคำแนะนำ
ฝ่ายเผยแพร่ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง
กรมประมง