ปลานิล Oreochromis nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน - 1 ปีสามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่าง ๆ อาทิเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิมผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยมูลแพะ

หลักการและเหตุผล
................ เพื่อศึกษาแนวทางการใช้มูลแพะให้เกิดประโยชน์สูงสุด และศึกษาการเกื้อกูลกันต่อการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการ ของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์
..............1. เพื่อศึกษาผลตอบแทนรายได้ทางเศรษฐกิจที่ไม่จำเป็นต้องใช้ต้นทุนที่สูง
..............2. เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากมูลแพะ
..............3. เพื่อศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์ของมูลแพะในรูปแบบสร้างมูลค่าเพิ่ม

เป้าหมาย
..............1. สามารถใช้มูลแพะเลี้ยงปลาชนิดกินพืชได้จริง
..............2. สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรผู้ปฏิบัติ
..............3. สามารถผลิตแหล่งโปรตีนจากปลาที่มีคุณภาพ

ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2550 – 1 พฤษภาคม 2551

สถานที่ศึกษา พื้นที่โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง


มูลแพะ
................... มูลแพะอาจจะถูกใช้ทำปุ๋ย หรือใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำหรับเกษตรกรในชนบท ประมาณว่าแพะขนาด 18 กิโลกรัม สามารถผลิตมูลได้ 47 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งในมูลแพะนี้จะมีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อยู่ประมาณร้อยละ 15, 15 และ 3 ตามลำดับ

ชนิดของมูลสัตว์
Water Content
สารอาหารหลัก (%)
Nitrogen (N
Phosphate (P)
Potash (K)
วัว ม้า
60-80%
5.4-6.4
2.3-4.5
4.5-5.4
แกะ หมู แพะ
65-75%
4.5-9.5
3.2
5.9-8.6
คุณค่าของมูลแพะทางวิชาการ
ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารเฉลี่ยสำหรับพืชที่มีในมูลสัตว์แห้งชนิดต่างๆ


ที่มา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมร่วมกับ.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม


รายละเอียดการเลี้ยงปลานิลด้วยมูลแพะ

เริ่มต้นโครงการ 1 พฤษภาคม 2550
ระยะเวลาการทดลอง 1 พฤษภาคม 2550 – 1 พฤษภาคม 2551







เดือนที่ทดลอง
ปริมาณมูลแพะที่ใช้
ขนาดและจำนวนปลานิล
สุ่มน้ำหนัก
ครั้งที่ 1
สุ่มน้ำหนัก
ครั้งที่ 2
สุ่มน้ำหนัก
ครั้งที่ 3
สุ่มน้ำหนัก
ครั้งที่ 4
หมายเหตุ
1 พ.ค.50
2% / จำนวนปลา
0.5 กก./1,000 ตัว/วัน
40 ตัว/กก.(1,000 ตัว)

1 ก.ค.50
เพิ่ม 2%
0.8 กก./วัน
25-30 ตัว/กก.

1 ต.ค.50
เพิ่ม 3%
1กก./วัน
15-20 ตัว/กก.

1 ม.ค.51
เพิ่ม 3%
1.2 กก./วัน
7-10 ตัว/กก.

1 พ.ค.51

หมายเหตุ จากการนำปลานิลขนาด 7-10 ตัว/กก. ทำการศึกษาซาก พบว่าปลานิลมีสภาพสมบูรณ์ ไม่ผอม เจริญเติบโตเป็นไปอย่างธรรมชาติ เนื้อมีมันแทรก
..................รสชาติดี ไม่มีกลิ่นแปลกปลอม (กรณีปรุงอาหาร)


ที่มา
http://www.dld.go.th

1 ความคิดเห็น:

ที่มาของข้อมูล

การเพาะเลี้ยงปลานิล
เอกสารคำแนะนำ
ฝ่ายเผยแพร่ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง
กรมประมง