ปลานิล Oreochromis nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน - 1 ปีสามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่าง ๆ อาทิเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิมผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง


ปัจจุบันมีการส่งออกปลานิลกันมากขึ้น ในรูปของปลาแช่แข็งทั้งตัว โดยเฉพาะการแปรรูปเป็นปลาแล่เนื้อแช่แข็ง ประเทศที่นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เป็นต้น แต่มีข้อแม้ว่าปลาที่เลี้ยงได้จะต้องมีขนาดโต น้ำหนักประมาณ 400 กรัมขึ้นไป และไม่มีสารตกค้างในเนื้อปลา และข้อกีดกันทางการค้าของบางประเทศ เกี่ยวกับการใช้ฮอร์โมนในการเปลี่ยนเพศปลา กลิ่นสาบหรือกลิ่นโคลนในตัวปลานิลที่เลี้ยงในบ่อดินมักจะไม่เกิดขึ้นกับการ เลี้ยงปลานิลในกระชังที่มีการเลี้ยงแบบพัฒนาดังที่กล่าวมา.เราก็ได้รู้เกี่ยวกับประวัติของปลานิลมาแล้วมาลองศึกษาวิธีการเลี้ยงปลานิลในกระชังกัน ปลาที่จะใช้เลี้ยง เป็นปลานิล cp หรือปลานิลแดงซึ่งมีการเติบโตเร็ว และมีความต้านทานต่อโรคเป็นอย่างดีการเตรียมการเพื่อเลี้ยงปลานิลในกระชัง1. การเตรียมบ่อหรือกระชัง ส่วนมากจะนิยมใช้เป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งจะง่ายต่อการจัดการมากกว่ารูปแบบอื่น2. การจัดการคุณภาพน้ำ ควรตรวจสอบแหล่งน้ำในเรื่องปริมาณน้ำและความลึกที่เพียงพอต่อการจัดวางกระชังตลอดการเลี้ยง และควรมีค่าพีเอช (pH) อยู่ระหว่าง 7.5-8.5 3.การขนส่งลูกพันธุ์ปลานิล ควรใช้เวลาในการขนส่งไม่เกิน 3 ชั่วโมง ระหว่างขนส่งควรรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ เช่นใช้กระสอบรองพื้นรถ แวะปั๊มน้ำมันเพื่อฉีดน้ำให้อุณหภูมิของน้ำในถุงเย็นลง 4. การปล่อยลูกพันธุ์ปลานิล ควรเลือกปล่อยเวลาเช้ามืด หรือช่วงเย็น5. การให้อาหารปลา ควรหว่านกระจายให้ทั่วกระชัง และควบคุมปริมาณให้เหมาะสม6. หมั่นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบๆกระชัง เช่นคุณภาพน้ำ อุณหภูมิ เป็นต้น7.ทำความสะอาดที่กั้นอาหาร (มุ้งฟ้า) 1 ครั้ง /สัปดาห์ และตรวจเช็ครอยรั่วของกระชังสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 8.ทำการสุ่มเช็คน้ำหนักของปลานิลทุก 15 วันเพื่อตรวจดูการเจริญเติบโตของปลาเงินลงทุนเพื่อใช้เลี้ยงปลานิลต่อกระชัง1. ค่ากระชังเพื่อเลี้ยงปลา ขนาด 7x15x2.5 เมตร ราคาโดยประมาณ 2,500 บาท2. ค่าไม้ลำสำหรับปักกระชัง 4 ต้น ราคาต่อต้น 53 บาท 212 บาท3.ค่าตัวปลานิล ขนาด 3 ตัวต่อกิโล ใช้กระชังละ 285 โล (850ตัว) 9,900 บาท (ราคานี้ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวปลา)4. ค่าอาหารปลา ไฮเกร็ด 9951 จำนวน 25 ลูกๆละ 550 13,750 บาท5. น้ำยาฆ่าเชื้อ โอแลน 1 ขวด 370 บาทรวมเงินลงทุนต่อกระชังโดยประมาณ 26,732 บาทระยะเวลาการเลี้ยงปลานิลในกระชัง ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของปลา และขนาดปลาที่เราเริ่มปล่อย หากเราใช้ปลานิลขนาด 3 ตัวต่อกิโลกรัม (333 กรัมต่อตัว) ระยะเวลาการเลี้ยงจะอยู่ที่ไม่เกิน 3 เดือน)
ที่มาhttp://th.88db.com


วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เริ่มเลี้ยงปลานิล

เงินลงทุน
ครั้งแรกประมาณ 20,000 บาท/ไร่/รุ่น (ค่าพันธุ์ปลาขนาด 3 " 5 เซนติเมตร ราคา 0.20 บาท/
ตัว เครื่องสูบน้ำ ราคา 7,000 บาท ค่าปุ๋ย ราคา 8,000 บาท/ไร่/รุ่น)


รายได้

ครั้งแรกประมาณ 50,000 บาท/ไร่/รุ่น (1 ปีแรก)
(รุ่นต่อ ๆ ไปจะมีรายได้ต่อรุ่นไม่ถึง 1 ปี เนื่องจากปลาที่เลี้ยงรุ่นแรกมีการขยายพันธุ์ต่อเนื่อง)

วัสดุ/อุปกรณ์
บ่อดิน พันธุ์ปลา ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อาหารเสริม เครื่องสูบน้ำ อวน สวิง

แหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลา
ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาทั่วไป สถานีประมงน้ำจืดจังหวัด (กรมประมง)

วิธีดำเนินการ
1. ขุดบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อที่ขนาด 1 ไร่ ลึกประมาณ 1.5 เมตร และขอบบ่อมีเชิงลาดเทตื้นๆ กว้าง 1"2 เมตร สำหรับให้แม่ปลาวางไข่ จากนั้นโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ เนื้อที่ 10 ตารางเมตร เพื่อปรับสภาพดิน ตากบ่อทิ้งไว้ 2"3 วัน จึงสูบน้ำเข้าบ่อให้มีระดับสูง 1 เมตร
2. ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักลงในบ่อเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ เช่น พืช และไรน้ำ เป็นต้น โดยในระยะแรกควรใส่ประมาณ 250-300 กิโลกรัม/ไร่/เดือน ส่วนในระยะหลังควรลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง (หากเป็นปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งก่อน แล้วหว่านให้ละลายไปทั่วบ่อ ส่วนปุ๋ยหมัก ควรเทกองไว้ตามมุมบ่อ 2 " 3 แห่ง โดยมีไม้ปักล้อมไว้รอบกองปุ๋ย เพื่อป้องกันส่วนที่ยังไม่สลายตัวลอยกระจัดกระจาย)
3. ปล่อยลูกปลาขนาด 3"5 เซนติเมตร ในอัตรา 1-3 ตัว/ตารางเมตร หรือประมาณ 2,000"5,000 ตัว/ ไร่ ลงในบ่อ
4. นอกจากอาหารธรรมชาติแล้ว ควรให้อาหารเสริม เช่น รำ ปลายข้าว ปลาป่น กากถั่วเหลือง และกากมะพร้าว เป็นต้น โดยให้วันละครั้ง ปริมาณที่ให้ไม่ควรเกิน 4% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง หรือสังเกตจากความต้องการอาหารของปลาที่มารอกินอาหารจากจุดที่ให้เป็นประจำ ควรระวังอย่าให้อาหารมากเกินไป เพราะปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นอันตรายต่อปลาได้ จึงควรหมั่นเปลี่ยนน้ำ หากน้ำในบ่อเสีย
5. เมื่อเลี้ยงครบ 1 ปี ปลานิลจะมีน้ำหนักประมาณ ½ กิโลกรัม/ตัว จึงจับจำหน่ายได้ โดยการใช้อวนจับปลา หรือสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อย แล้วนำสวิงตักปลาใส่เข่ง เพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ตลาดสดทั่วไป องค์การสะพานปลา โรงงานแปรรูป และร้านอาหารต่าง ๆ

สถานที่ให้คำปรึกษา
1. กองประมงน้ำจืด กรมประมง โทร. 579-8561
2. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด

ข้อแนะนำ
1. บ่อเลี้ยงปลานิล ควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป เพราะปลานิลแพร่ขยายพันธุ์เร็ว หากเนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป เพราะปลานิลแพร่ขยายพันธุ์เร็ว หากเนื้อที่น้อยจะทำให้บ่อหนาแน่นมากและปลาไม่เจริญเติบโต
2. หากบ่อเลี้ยงปลาอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ควรสร้างท่อระบายน้ำที่พื้นบ่อแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่ โดยจัดระบบน้ำเข้าออกคนละทาง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ
3. เมื่อมีลูกปลาเกิดขึ้นมาใหม่ในบ่อที่เลี้ยง ควรแยกมาเลี้ยงอีกบ่อหนึ่ง เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณ และป้องกันมิให้ถูกปลาตัวใหญ่กินเป็นอาหาร
4. สามารถนำปลานิลไปแปรรูป เช่น ทำปลาเค็มตากแห้ง ปลากรอบ ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาส้ม เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง


แหล่งที่มา กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน

และ www.joburl.com

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลานิลแบบผสมผสาน

คำนำ

การเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ และการเลี้ยงปลาร่วมกับปลานั้น เกษตรกรในประเทศไทยและต่างประเทศได้ปฏิบัติกันมานานแล้วเช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมทั้งบางประเทศในยุโรปตะวันออก เช่นฮังการีประเทศเหล่านี้ต่างยอมรับว่า ระบบการผลิตสัตว์น้ำและสัตว์บกที่ผสมผสานกันนี้เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่กันเป็นอย่างดี นับเป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่ง

ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้เต็มที่ ที่ดินรอบ ๆ บ่อใช้ปลูกพืชผัก และสร้างคอกเลี้ยงสัตว์ ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด
เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกเช่น มูลสัตว์ เศษอาหาร เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งตกลงไปในบ่อก็จะกลายเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดีการนำเศษเหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกเป็นการกำจัดของเสีย และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย
เป็นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัวถ้าเหลือก็สามารถนำออกจำหน่าย เกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์
ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่า การเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชเพียงอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน ในการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี


การสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา

ลักษณะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานหากจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรือนเลี้ยงสัตว์จะพบว่ามีสองลักษณะคือ
แบบสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา เป็นแบบที่นิยมกันมากที่สุด เพราะสะดวกและสามารถระบายมูลสัตว์จากโรงเรือนลงสู่บ่อปลาโดยตรงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลาจะได้ประโยชน์จากบ่อปลาในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่ำลง สัตว์จึงไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้นโตเร็วและต้านทานโรคได้ดีทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ข้อเสียคือ ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้ไม้ทำเสา และวัสดุปูพื้นเพิ่มขึ้นโรงเรือนลักษณะนี้เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์เล็ก เช่น เป็ดหรือไก่เท่านั้น
แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลา โดยมีรางระบายมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงมาสู่บ่อปลาแบบนี้จะพบมากในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่ก่อนแล้วจึงขยายเนื้อที่เลี้ยงปลาโดยการขุดบ่อในภายหลัง
เกษตรกรที่จะลงทุนเลี้ยงปลาผสมผสานโดยการสร้างโรงเรือนและขุดบ่อเลี้ยงปลานั้น ขอแนะนำให้สร้างตามแบบแรก ถึงแม้ว่าต้องลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่าเพราะประหยัดพื้นที่และประหยัดแรงงานมากกว่า สำหรับเกษตรกรที่มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว หากต้องการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นควรใช้แบบที่สอง

การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่
การเลี้ยงผสมผสานแบบนี้ มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด คือใช้มูลไก่เป็นอาหารของปลาที่เลี้ยง หรือใช้เป็นปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโตของอาหารธรรมชาติและเป็นอาหารของปลาอีกทอดหนึ่ง
ลักษณะบ่อปลาและเล้าไก่
บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่นั้นใช้บ่อดินที่มีลักษณะเดียวกับบ่อเลี้ยงปลาโดยทั่วไปควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความลึกประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้โดยเฉลี่ย 1-1.50 เมตร ในช่วงที่มีการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่
เล้าไก่ ซึ่งเป็นอาคารและโรงเรือนควรสร้างคร่อมบ่อที่เลี้ยงปลา เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่เดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเหมาะสมเมื่อไก่ที่เลี้ยงถ่ายมูลหรือเศษอาหารตกลงในบ่อเป็นประโยชน์ต่อปลาโดยตรง โดยมิต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดเป็นการตัดภาระในด้านค่าใช้จ่าย สำหรับรูปร่างของเล้าไก่นั้นก็ควรสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกัน พื้นเล้าไก่สูงกว่าระดับผิวน้ำในบ่อเฉลี่ย 1.20 เมตร
แบบตั้งบนบ่อปลา ปลาจะได้รับอาหารที่ไก่เขี่ยกระเด็นออกมาเป็นอาหารโดยตรง และได้รับอาหารจากมูลไก่ที่ย่อยไม่หมด ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นปุ๋ยให้เกิดแพลงก์ตอนในบ่อต่อไป ปลาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยสามารถลดปริมาณอาหารสมทบหรือไม่ต้องลงทุน ลดแรงงานและเวลาในการหาอาหารให้ปลา ไม่ต้องทำความสะอาดในเล้า
ส่วนเล้าไก่ที่สร้างบนพื้นดินนั้น มูลไก่และเศษอาหาร จะตกลงที่พื้นดินใต้เล้าหากทิ้งไว้นานคุณค่าอาหารจะเปลี่ยนไป เพิ่มงานและเสียเวลาเพื่อขนถ่ายมูลไก่ไปลงบ่อปลา สัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย ทั้งยังสามารถควบคุมให้ปริมาณปุ๋ยในบ่อไม่มากเกินไปได้โดยการทยอยใส่ปุ๋ยลงในบ่อ ในกรณีพื้นที่นั้นมีปริมาณน้ำที่จะใช้น้อย เช่น ปีหนึ่งมีน้ำเพียง 8 เดือนอย่าสร้างเล้าไว้บนบ่อ
ทิศทางและตำแหน่งที่ตั้งเล้าไก่
การสร้างเล้าไก่ควรหันให้ด้านยาวของเล้าหันในทิศทางตะวันออก-ตะวันตก เพื่อไม่ให้แสงแดดส่องเข้าในเล้าโดยตรงนานเกินไปในช่วงสาย ๆ และบ่าย ๆ แต่ถ้าไม่สามารถหันได้ตามทิศทางดังกล่าวและด้านยาวจำเป็นต้องหันไปทิศเหนือ-ใต้ ก็จะต้องทำชายคาให้ต่ำลงมาบังแสงได้เพียงพอ
ขนาดและลักษณะเล้าไก่
เล้าไก่ควรเป็นแบบเปิดและอยู่กลางแจ้ง เพื่อจะได้รับแสงสว่างและการถ่ายเทอากาศจากธรรมชาติ ปกติแล้วเล้าจะปลูกสร้างเป็นแถวเดียว มีหลังคาเป็นแบบจั่ว มีความยาว 6-8 เมตร และมีความสูง 3.0 เมตร แต่ละห้องแบ่งขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 40 ตารางเซนติเมตรเลี้ยงไก่ได้จำนวน 800 ตัว ส่วนความกว้างของเล้าจะขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่เพิ่มขึ้น เล้าไก่ควรมีอัตราส่วนช่องหน้าต่างต่อเนื้อที่พื้นเล้าเท่ากับ1:8 - 1:10 เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายเทอากาศได้ดี พื้นเล้าสูงจากระดับน้ำบ่อปลาประมาณ 1.0 - 1.50 เมตร
วิธีการเลี้ยงไก่ร่วมกับการเลี้ยงปลาแบบการค้า
สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจจะเลี้ยงไก่ผสมผสานกับเลี้ยงปลาให้เป็นการค้าควรจะเตรียมการและวางแผนการเลี้ยงล่วงหน้าไว้ดังนี้
วางแผนการเก็บเกี่ยวผลผลิตปลาให้พอดีกับฤดูแล้งซึ่งปลาจะมีราคาดี
หลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาและไก่ในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฤดูที่มีโรคระบาด
ตรวจดูความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเลี้ยงไก่และชนิดปลาที่จะเลี้ยง
1
รูปแบบผสมผสานที่ 1 เลี้ยงไก่เนื้อกับปลานิล ปลาสวาย ปลาจีน
2
รูปแบบผสมผสานที่ 2 เลี้ยงไก่เนื้อ 2 รุ่นกับปลาดุกบิ๊กอุย
3
รูปแบบผสมผสานที่ 3 เลี้ยงไก่ไข่กับปลานิล
ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมบ่อดินและโรงเรือนไก่ให้เสร็จเรียบร้อยในฤดูแล้งเพื่อความสะดวกใน
การทำงาน มีขั้นตอนดังนี้
บ่อเก่า ให้ล้างบ่อโดยสูบน้ำจับปลาเก่าออกให้หมด และขุดลอกเลนบางส่วนออกโดยให้คงเหลือไว้ 10-20 เซนติเมตร โรยปูนขาวอัตรา 40-60 กิโลกรัม/ไร่ ตากบ่อให้แห้ง
ขุดบ่อใหม่ ควรเปิดน้ำลงบ่อให้พอแฉะ ๆ โรยปูนขาว อัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ ตากบ่อให้แห้ง
เปิดน้ำลงบ่อให้ผ่านมุ้งไนลอนตาถี่ เพื่อป้องกันปลากินเนื้อที่อาจหลุดเข้ามาได้
บริเวณท่อน้ำเข้าให้กองปุ๋ยคอกไว้ในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่
เปิดน้ำเข้าบ่อให้มีระดับ 30 เซนติเมตรแล้วปิดน้ำ พักบ่อไว้จนน้ำในบ่อกลายเป็นสีเขียว
เปิดน้ำเข้าบ่ออีกครั้งให้ได้ระดับลึก 1.0 - 1.20 เมตร ควรปักไม้ไว้วัดระดับน้ำ
เมื่อน้ำในบ่อเป็นสีเขียวดีแล้ว ก็สามารถจัดหาพันธุ์ลูกไก่มาเริ่มเลี้ยงบนเล้าได้
อัตราส่วนจำนวนไก่และขนาดบ่อปลา
อัตราส่วนจำนวนไก่ประเภทต่าง ๆ ต่อพื้นที่บ่อทุก ๆ 1 ไร่ โดยตั้งเล้าไว้บนบ่อปลา

ลักษณะการจ่ายน้ำเข้าฟาร์ม

ไก่พันธุ์เนื้อ(ตัว/ไร่)

ไก่พันธุ์พื้นเมือง(ตัว/ไร่)

ไก่พันธุ์ไข่(ตัว/ไร่)

ฟาร์มที่รับน้ำได้ตลอดเวลา

350

350

200

ฟาร์มที่รับน้ำได้เป็นเวลา

260

260

150

ฟาร์มที่มีน้ำบาดาลหรือน้ำฝนตลอดทั้งปี

175

175

100

ฟาร์มที่มีน้ำบาดาลหรือน้ำฝนน้อยกว่า 8เดือน/ปี**

**

**

**


ขั้นตอนการเลี้ยงไก่ควบคู่กับการปล่อยปลา
การนำลูกไก่มาเลี้ยงควรเริ่มหลังจากเตรียมบ่อปลาและน้ำมีสีเขียวดีแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้มูลไก่ตกลงสู่บ่อปลา ซึ่งลูกปลาที่เพิ่งปล่อยและอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ลูกปลาจะได้กินเป็นอาหารอย่างต่อเนื่อง
การเลี้ยงไก่ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้อัตราการรอดตายสูงที่สุด หากไก่มีอัตรารอดสูงนอกจากผู้เลี้ยงจะไดรับกำไรจากไก่สูงแล้วผลผลิตปลาก็จะสูงตามไปด้วย
อาหารและมูลไก่ในช่วง 5 สัปดาห์แรกนี้ จะเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงต่อลูกปลา ลูกปลาจะสามารถกินมูลไก่ได้โดยตรง
การเลี้ยงปลาสามารถเริ่มเลี้ยงไปพร้อม ๆ กันกับการเลี้ยงไก่
ควรเลือกลูกปลาที่มีลักษณะแข็งแรง ขนาดไล่เลี่ยกัน ขนาดปลาที่จะใช้เลี้ยงเริ่มต้นควรเป็นลูกปลาตัวโตเพื่อให้ได้อัตรารอดตายที่สูง ขนาดของลูกปลากินพืชและปลาที่กินอาหารไม่เลือก ควรเป็น 2 นิ้ว และขนาดลูกปลาดุกควรเป็น 1 นิ้ว
แสดงอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาผสมผสานกับเลี้ยงไก่

ชนิดของไก่

จำนวนตัวต่อบ่อ 1 ไร่

หมายเหตุ

ไก่พันธุ์เนื้อ(ไก่กระทง)

1,000

เลี้ยงตั้งแต่อายุ 1 วัน รุ่นละ 50วัน ปีละ 5 ครั้งเลี้ยงในกรงตับ

ไก่พันธุ์ไข่

200

ชนิดของปลา

ขนาด(เซนติเมตร)่

จำนวนตัวต่อไร่

นิล

3

3,000

นิล สวาย

3-5

3,000 จำนวนเท่ากัน

(นิล สวาย ตะเพียน ยี่สกเทศ นวลจันทน์เทศ จีน)

3-5

3,000


อัตราการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการเลี้ยงปลา

ขนาดบ่อ(ไร่)

พันธุ์ปลา (ตัว)

ขนาดเล้า
(
ตารางเมตร)

พันธุ์ไก่ (ตัว)

อาหารหลัก

อาหารสมทบ

15

นิล 60,000 - 67,500
สวาย 30,000 - 67,500
จีน 15,000

400

เนื้อ 10,000
สุกร 220

มูลไก่

รำ ปลายข้าว
เศษอาหาร

10

นิล 50,000

400

ไก่เนื้อ 10,000
เลี้ยง 2 รุ่น

มูลไก่

รำปลายข้าว
เศษอาหาร

5

ดุกบิ๊กอุย200,000

200

ไก่เนื้อ 5,000
เลี้ยง 2 รุ่น

มูลไก่
เศษอาหาร

เศษอาหารจากร้าน
อาหารเม็ด

5 -10

ดุกบิ๊กอุย300,000

400

ไก่เนื้อ 10,000
เลี้ยง 2 รุ่น

มูลไก่
เศษอาหาร

เศษอาหารจากร้าน
อาหารเม็ด

1

นิล 500
สวาย 500
จีน 200

40

ไก่ไข่ 200
สุกร 3-5

มูลไก่
มูลสุกร

รำปลายข้าว
เศษอาหาร


ผลผลิตและผลตอบแทนของการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่
ผลผลิตปลาจากการเลี้ยงแบบผสมผสาน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสัตว์ที่นำมาเลี้ยงกับชนิดและขนาดของปลาที่นำมาปล่อยและระยะเวลาที่เลี้ยงด้วย
รูปแบบการเลี้ยงสัตว์และปลาชนิดต่าง

รูปแบบการเลี้ยง

ขนาดบ่อ (ไร่)

ผลผลิตปลาทั้งบ่อ (ตัน)

ระยะเวลาการเลี้ยง (เดือน)

ไก่เนื้อ+ปลานิล+ปลาสวาย

15

19

มากกว่า 8

ไก่เนื้อ+ปลานิล

10

5.7

10

ไก่เนื้อ+ปลานิล+ปลาตะเพียน+ปลาสวาย

5

16

100 วัน

สุกร+ปลานิล+ปลาสวาย

17

12

มากกว่า 8

สุกร+ปลานิล+ปลาสวาย

17

15

มากกว่า 8

สุกร+ปลากินพืชรวม

6

3.5

6

เป็ด+ปลากินพืชรวม

2

2.6

10


การลงทุนสำหรับบ่อขนาด 15 ไร่ เลี้ยงไก่เนื้อร่วมกับปลานิลและปลาสวาย

ต้นทุนผันแปร (บาท)

ต้นทุนคงที่ (บาท)

ต้นทุนรวม(บาท)

พันธุ์ปลา

51,000

ค่าดอกเบี้ย

อาหารสมทบ

15,500

ค่าเช่าที่ดิน

36,000

น้ำมันเชื้อเพลิง

2,800

ค่าเสื่อมราคา

สาธารณูปโภค+ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์

1,900

ค่าแรงงาน

45,500

รวม

116,700

รวม

36,000

รวม152,700

ผลผลิต 19,000 กิโลกรัม มูลค่า160,000 บาท

ราคาปลา 842 บาท/กิโลกรัม กำไร 7,300


* ค่าแรงงานคิดเป็นรายวัน ๆ ละ 189 บาท ตลอดระยะเวลาเลี้ยง 8 เดือน
* ราคาขายปลาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.42
* ค่าจ้างเลี้ยงไก่ตัวละ 5-7 จำนวน 10,000 ตัว/รุ่น ทุก 50 วัน รวม 4-5 รุ่น/การเลี้ยงปลา 1 รุ่น

อาหารและการให้อาหาร
ในการเลี้ยงแบบผสมผสานกับการเลี้ยงไก่นั้น โดยปกติถ้าจัดอัตราส่วนที่เลี้ยงให้เหมาะสมต่อกันแล้วก็ไม่จำเป็นต้องให้อาหารสมทบ เพราะปลาได้อาศัยกินมูลไก่และเศษอาหารที่ไก่กินตกหล่นไปในบ่อ และอาหารธรรมชาติอื่น ๆ เพียงพอ เช่น แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ตลอดจนตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง ฯลฯ
ส่วนในระยะแรกที่ปล่อยพันธุ์ปลาเลี้ยงในบ่อนั้นลูกปลายังมีขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง และไม่คุ้นเคยกับมูลไก่ที่ใช้เป็นอาหาร ดังนั้น จึงควรใช้รำข้าวละเอียดโดยโปรยให้ลูกปลากิน หรือให้อาหารผสม เช่น ปลายข้าวต้มผสมรำและปลาป่น ปั้นเป็นก้อนโยนให้ปลากิน หรือจะใช้อาหรที่มีราคาถูก เช่น กากถั่ว หรือเศษอาหารจากภัตตาคารก็ได้ ปริมาณอาหารสมทบที่ให้ควรลดลงตามลำดับและงดเมื่อปลาที่เลี้ยงโตขึ้นและคุ้นกับมูลไก่ที่ใช้เป็นอาหารแล้ว


การจับปลาจำหน่าย

การจับปลาจำหน่าย
ในกรณีที่เลี้ยงปลานิลกับไก่นั้น จะต้องคัดจับปลานิลขนาดใหญ่ออกจำหน่ายเมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 4-5 เดือน เพราะปลานิลที่เลี้ยงไว้จะออกลูกและเพิ่มอัตราความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้ปลาส่วนใหญ่ไม่เจริญเติบโตหรือแคระเกร็น การคัดจับปลานิลทำได้ง่าย โดยใช้ข่ายไนลอนขนาดช่องตา6-8 เซนติเมตร ในช่วงตอนบ่ายกำหนดเวลาให้พอเหมาะกับเวลาที่จะนำปลาไปจำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อในตลาด การคัดจับปลานิลต้องปฏิบัติเป็นประจำสำหรับบ่อขนาดใหญ่เนื้อที่ตั้งแต่ 3-5 ไร่ส่วนการเลี้ยงปลานิลกับปลาสวายหรือในการเลี้ยงปลาแบบรวม เมื่อเลี้ยงปลาเป็นเวลา 6-8 เดือน ก็ควรจะใช้อวนขนาดใหญ่คัดจับปลาที่มีขนาดโตออกจำหน่ายเสียบ้างเพื่อลดอัตราความหนาแน่น และทำการวิดน้ำจับปลาทั้งหมดเมื่อเลี้ยงปลาครบรอบ 1 ปี หรือรอจับในช่วงเวลาที่ปลามีราคาสูงขึ้น

การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด
ประโยชน์ที่สำคัญซึ่งได้รับจากการเลี้ยงเป็ดควบคู่กับการเลี้ยงปลา ได้แก่ การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด จะให้คุณประโยชน์หลายประการ อาทิ
มูลเป็ดเป็นปุ๋ยช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับปลา
อาหารที่ใช้เลี้ยงบางส่วนเมื่อตกหล่นลงไปในน้ำ ปลาจะกินเป็นอาหารโดยตรง หรือมีเศษเหลือบางส่วนกลายเป็นปุ๋ย
เป็ดช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ การเล่นกันของเป็ดตามผิวน้ำในบ่อปลา
เป็ดจะช่วยกำจัดหอย ซึ่งเป็นพาหะของโรคพยาธิ เช่น หอยคัน ซึ่งเป็นปัญหาในด้านสุขอนามัยของประชาชน
ในกรณีเลี้ยงเป็ดร่วมกับปลานิล เป็ดจะคอยควบคุมประชากรของปลานิลให้อยู่ในลักษณะสมดุล ทำให้ปลาที่เลี้ยงเติบโตได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ
การสร้างเล้าเป็ด
การสร้างเล้าเป็ดควรใช้วัสดุพื้นบ้านซึ่งสามารถหาได้ง่าย เช่น ไม้ไผ่และแฝกหรือจากสำหรับมุงหลังคา ขนาดของเล้าขึ้นอยู่กับจำนวนเป็ดที่เลี้ยง แต่ควรมีเนื้อที่ของเล้า 1 ตารางเมตรต่อเป็ด 5 ตัว ถ้าเลี้ยงเป็ดจำนวน 30 ตัว เล้าเป็ดควรมีเนื้อที่ประมาณ 6 ตารางเมตร ส่วนความสูงของเล้าเป็ดควรสูงพอที่จะเข้าไปเก็บไข่และทำความสะอาดได้สะดวก สามารถกำบังฝนและแดดได้ดี และมีการถ่ายเทอากาศได้ดี นอกจากนี้เล้าเป็ดควรมีประตูเพื่อที่จะขังเป็ดไว้ในเล้าได้ในเวลากลางคืน
พื้นเล้าเป็ดควรจะตีไม้ให้มีระยะห่างกันพอสมควร หรือห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อให้มูลเป็ดตกลงสู่บ่อได้ แต่ไม่ควรกว้างมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็ดเดินไม่สะดวก และไข่เป็ดอาจจะหล่นลงไปในบ่อได้ นอกจากนี้ ควรมีชานหรือสะพานทอดลงสู่น้ำ เพื่อให้เป็ดขึ้นลงจากเล้าได้สะดวก
อัตราส่วนจำนวนเป็ดที่เลี้ยงกับขนาดของบ่อปลา
พันธุ์เป็ดที่นำมาเลี้ยง ควรเป็นเป็ดพันธุ์ไข่ จะดีกว่าเป็ดพันธุ์เนื้อ ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ
เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้รับประทานอาหารโปรตีนอย่างสม่ำเสมอ
ไข่เป็ดที่เหลือจากการบริโภคสามารถนำไปจำหน่ายได้ง่ายกว่าจำหน่ายเป็ดทั้งตัว
ถ้าเลี้ยงเป็ดไข่ เป็ดจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 5 เดือนไปจนกระทั่งมีอายุ 1 ปี จึงคัดเป็ดที่ไม่
ให้ไข่ออกไป รวมเวลา 18 เดือน แล้วปลดระวาง ส่วนการเลี้ยงเป็ดเนื้อจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน แต่อาจมีความยุ่งยากพอสมควร
ส่วนเป็ดพันธุ์ไข่นั้นมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์กากีแคมเบล อินเดียรันเนล เป็ดพันธุ์ลูกผสม
จากปากน้ำหรือนครปฐม สำหรับพันธุ์ที่ดีที่สุดคือ พันธุ์กากีแคมเบล ซึ่งให้ไข่จำนวนมากกว่าพันธุ์อื่น
จำนวนเป็ดสูงสุดที่ควรใช้เลี้ยงในบ่อคือ 240 ตัวต่อเนื้อที่บ่อขนาด 1 ไร่ สำหรับบ่อขนาด 200 ตารางเมตร ควรปล่อยเป็ดอัตรา 30 ตัวต่อบ่อ (ถ้าต้องการเพียงให้มีผลผลิตใช้เพียงพอแก่การใช้บริโภคของสมาชิกในครัวเรือนทุก ๆ วัน) จำนวนเป็ดจะลดลงเหลือเพียง 10 ตัวสำหรับบ่อขนาด 200 ตารางเมตร
อาหารและการให้อาหารเป็ด
ลูกเป็ดที่ซื้อมาเลี้ยง จะเป็นเป็ดที่มีอายุประมาณ 1 วัน ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพสูงเลี้ยงลูกเป็ดในระยะนี้ จนกระทั่งลูกเป็ดอายุครบ 1 เดือน จึงให้อาหารสำหรับเป็ดไข่ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้
ปลายข้าว 50% หรือ 1 กระสอบ (น้ำหนัก 100 กก.)
รำข้าวละเอียด 30% หรือ 1 กระสอบ (น้ำหนัก 60 กก.)
หัวอาหาร 20% หรือ 1 ถุงครึ่ง (น้ำหนัก 45 กก.)
พันธุ์ปลาที่เลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ด
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ดนั้นควรเป็นพันธุ์ที่กินอาหารไม่เลือกหรือกิน
แพลงก์ตอน เช่น ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศ และปลาช่อน โดยใช้ปลานิลเป็นหลัก ส่วนลูกปลาควรมีขนาด 5-7 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่โตพอจะหลบหนีจากการถูกกินเป็นอาหารของเป็ดได้ อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ จำนวนปลานิลขนาด 5 เซนติเมตร 3,000 ตัวต่อไร่ ถ้าเป็นปลาขนาด 3 เซนติเมตร ควรเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีกหนึ่งเท่าตัวต่อเป็ดไข่ที่เลี้ยง 240 ตัว
การเลี้ยงเป็ดร่วมกับปลาสวายนั้น ควรปล่อยเป็ดลงในบ่อหลังจากเลี้ยงปลาสวายประมาณ
2
เดือน ปลาจะมีขนาดโตพอดีที่เป็ดไม่สามารถกินเป็นอาหารได้การปล่อยเป็ดลงในบ่อปลาช่วยกินพวกพืชเล็ก ๆ ที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น สาหร่าย จอก แหน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ เช่น หอย ปู ปลาเล็ก ๆ ในส่วนที่ปลาได้รับประโยชน์จากเป็ดก็คือ ปลาสามารถกินของเสียจากเป็ดเป็นอาหารได้ และมูลเป็ดที่ปลากินไม่หมดจะเป็นปุ๋ยให้กับพวกจอก แหน หรือวัชพืช เมื่อพืชเหล่านั้นโตขึ้นมาก็จะเป็นอาหารให้แก่ปลาและเป็ดต่อไป
การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงสุกร
การเลี้ยงปลาร่วมกับสุกร ได้มีมานานแล้ว ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาจีน ปลาไน ปลานิล
โดยสร้างคอกสุกรบนคันบ่อ มูลสุกรก็จะถูกชะล้างลงสู่บ่อปลาก่อให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อปลา ซึ่งจะกลายเป็นอาหารแก่ปลาอีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้มูลสุกรบางส่วนยังเป็นอาหารแก่ปลาได้โดยตรงอีกด้วย
ประโยชน์ของการใช้มูลสุกรในบ่อปลา
เป็นอาหารของปลาสวายโดยตรง ลดต้นทุนการผลิตปลาสวายลงอย่างมาก เศษมูลสุกรที่เหลือบางส่วนในน้ำเป็นต้นกำเนิดลูกโซ่อาหารธรรมชาติแก่ปลาชนิดอื่น
ทำให้เล้าสุกรสะอาดและความร้อนลดลง
ปริมาณก๊าซแอมโมเนียลดลง หรือหมดไป
ปริมาณแมลงวันซึ่งเป็นพาหะนำโรคของคน และสัตว์ลดลง
ไม่มีมูลสุกรตกค้าง หรือระบายลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจเป็นผลให้เกษตรกรรายอื่นได้รับความเดือดร้อนในการใช้น้ำจากแหล่งน้ำนั้น
ลดอัตราการแพร่กระจายของพยาธิภายใน อันเกิดจากการติดต่อทางมูลสุกร
ช่วยกำจัดแหล่งเพาะเชื้อที่จะเกิดจากมูลสุกร เช่น แบคทีเรีย และไวรัส
โดยส่วนรวมแล้วสุขภาพของสุกรแข็งแรงขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรคสัตว์
การสร้างคอกสุกรและอัตราส่วนการเลี้ยงต่อคอก
การสร้างคอกสุกรแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
สร้างบนคันบ่อ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ด้านขวาของคันบ่อ เว้นที่ไว้ให้กว้างพอเหมาะโดย
สร้างคอกและโรงเรือนเป็นรูปทรงหลังคาหน้าจั่ว ถ้าเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ก็สร้างโรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 25 เมตร ส่วนกลางของอาคารเว้นเป็นช่องทางเดิน กว้าง 1-1.5 เมตร พื้นคอกเป็นซีเมนต์ สร้างให้ลาดเอียงลงสู่บ่อทั้งสองด้าน พื้นที่ภายในทั้งสองด้านแบ่งเป็นคอกกว้าง 4x4 เมตร ยาวเรียงติดต่อกันไป ตลอดแนวตามความยาวของอาคาร มีรางอาหารและที่ให้น้ำอัตโนมัติ 2 ราง คอกดังกล่าวเลี้ยงสุกรขุนได้คอกละ 10 ตัว หรือลูกสุกร 30 ตัว สำหรับปัสสาวะและมูลสุกรจะถูกกวาดล้างลงบ่อทางรางส่วนลาดต่ำของพื้นซีเมนต์
ในกรณีที่เลี้ยงสุกรมากกว่าอัตราส่วนของบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาจะต้องสร้างถังรวบรวมปัสสาวะไว้ก่อนปล่อยลงบ่อ โดยใช้ถังทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร วางซ้อนกัน 3-4 ลูก เชื่อมติดกันให้แน่นด้วยซีเมนต์ฝังลึกทางปลายรางเพื่อรองรับปัสสาวะและมูลสุกรก่อนปล่อยลงบ่อปลาทั้งนี้เพื่อสะดวกในการตักน้ำไปใช้เป็นปุ๋ย สำหรับนาข้าว พืชผัก สวนผลไม้ สวนครัว ฯลฯ ผลดีของถังรวบรวมปัสสาวะและมูลสุกรก่อนปล่อยลงบ่อก็คือ ปัสสาวะของสุกรที่ถ่ายใหม่ ๆ จะประกอบด้วยกรดต่าง ๆ ดังนั้นการพักชั่วคราวทำให้ไม่มีอันตรายต่อปลาและเป็นประโยชน์ต่อแพลงก์ตอนพืชในน้ำได้ทันที นอกจากนี้ การหมักมูลสุกรพร้อมเศษอาหารเหลือจะช่วยเพิ่มวิตามินและสิ่งมีชีวิตบางชนิดเป็นประโยชน์ต่อปลาด้วย
สร้างคอกลงบนบ่อปลา โดยเลือกพื้นที่ด้านใดด้านหนึ่งที่เหมาะสม พื้นคอกใช้ไม้จริงเนื้อแข็งหรือไม้ตาลตะโนด พื้นคอกมีช่องเล็ก ๆ ซึ่งสามารถจะกวาดและชะล้างทำความสะอาดให้มูลสุกรและเศษอาหารตกหล่นลงสู่บ่อได้สะดวก ส่วนขนาดคอกแบ่งเป็นคอกเลี้ยงสุกรได้คอกละประมาณ 10 ตัวเช่นเดียวกัน การสร้างคอกแบบดังกล่าว จำเป็นจะต้องพิจารณาจำนวนสุกรที่เลี้ยงให้สัมพันธ์กับขนาดของบ่อปลาด้วย ถ้าเลี้ยงสุกรจำนวนมากเกินกว่าขนาดของบ่อปลาก็จะเกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย เพราะปัสสาวะและมูลสุกรถ่ายลงในบ่อโดยตรง
อัตราส่วนจำนวนสุกรกับขนาดของบ่อปลา
โดยทั่วไปพบว่า การเลี้ยงสุกร 8-16 ตัว พอเหมาะกับบ่อเลี้ยงปลาขนาด 1 ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดปลาที่เลี้ยงด้วย ในขณะที่สุกรมีขนาดเล็กการขับถ่ายมูลและปัสสาวะมีไม่มากเพียงพอกับปลาที่จะเลี้ยงในบ่อ บ่อขนาด 1 ไร่ จะปล่อยปลาขนาด 3-5 เซนติเมตรประมาณ 3,200 ตัว ดังนั้นขณะที่สุกรยังเล็กอยู่จำเป็นต้องให้อาหารสมทบราคาถูก เช่น รำข้าว เศษอาหารเหลือ เศษพืชผัก ฯลฯ แก่ปลาที่เลี้ยงด้วย หรือในขณะที่สุกรยังเล็กก็เพิ่มจำนวนสุกรให้มากขึ้น เพื่อให้มีสิ่งขับถ่ายเพียงพอและเมื่อสุกรโตขึ้นมีขนาดเฉลี่ยตัวละ 50 กิโลกรัมขึ้นไป อัตราส่วนสุกร 16 ตัวจึงเหมาะสมกับบ่อเลี้ยงขนาด 1 ไร่
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมจะเลี้ยงร่วมกับสุกร
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงร่วมกับสุกร พิจารณาในด้านชีววิทยาและนิเวศน์วิทยา ตลอดจนการตลาด ควรเลี้ยงปลานิลและปลาสวาย เพราะเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพแวดล้อมและคุณสมบัติของน้ำเกี่ยวกับปริมาณของออกซิเจนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงกลางวันและกลางคืน ดังนั้นจึงสามารถปล่อยเลี้ยงในอัตราหนาแน่นสูง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุดสำหรับอัตราส่วนการปล่อยมีดังนี้

อัตราส่วนพันธุ์ปลาที่เหมาะสมจะเลี้ยงร่วมกับสุกร

ชนิดปลา

ขนาด(ซม.)

จำนวนตัวต่อไร่

หมายเหตุ

นิล

3-5

3,200

เลี้ยงเดี่ยว

สวาย

3-5

3,200

นอกจากปลาทั้งสองชนิดที่ใช้เป็นหลักในการเลี้ยงร่วมกับสุกรแล้ว อาจปล่อยปลาประเภทกินแพลงก์ตอน เช่น ปลาไน ตะเพียนทอง ยี่สกเทศ ปลาซ่ง ลิ่น หรือนวลจันทร์เทศ เลี้ยงรวมได้อีกจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม ส่วนปลากินพืช เช่น ปลาตะเพียนขาว เมื่อปล่อยลงเลี้ยงรวมด้วยจะมีอัตราการรอดตายต่ำ
พันธุ์สุกรและอาหารที่ใช้เลี้ยง
เนื่องจากการเลี้ยงสุกรมักประสบปัญหาการขาดทุนเกี่ยวกับราคาตกต่ำ ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือ ผลผลิตต่ำไม่ได้มาตรฐานอันเนื่องมาจากพันธุ์สุกรที่เลี้ยงและคุณภาพของอาหารไม่เหมาะสม ดังนั้นในเรื่องพันธุ์สุกรควรใช้พันธุ์ลูกผสม 3 หรือ 4 สายเลือด (ลาร์จไวท์ + แลนด์เรซ + ดูรอค + เพียนเทียน) ขนาดเริ่มต้นเฉลี่ยตัวละ 10 กิโลกรัม ซึ่งจะต้องผ่านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ มาแล้ว ส่วนพันธุ์ผสมระหว่างสุกรพันธุ์แท้กับพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ ก็ใช้ได้ แต่ราคาที่จำหน่ายได้อาจไม่ดีเพราะคุณภาพของเนื้อไม่ได้มาตรฐาน ในแง่ดีก็คือ ลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร เพราะสุกรลูกผสมพื้นเมืองกินอาหารไม่เลือก และมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมดีกว่าลูกผสมพันธุ์แท้
ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรจะผสมขึ้นใช้เอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และซื้อหัวอาหารมาผสมเองก็ได้
สูตรอาหารสุกร
ใช้อาหารพื้นบ้านประเภทรำข้าว ปลายข้าว ปลาป่นผสมหัวอาหาร ในส่วนของปลายข้าวอาจใช้มันสำปะหลังทดแทนได้บางส่วนตามความเหมาะสม เพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร โดยมีปริมาณโปรตีนตามขนาดของสุกรที่เลี้ยง ดังนี้

สูตรอาหารสุกร

สุกรขุน

14%

สุกรเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์

13%

สุกรก่อนคลอดมากกว่า

14%

สุกรหลังคลอด

14%

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ในบ่อปลาซึ่งเลี้ยงปลานิลชนิดเดียว ภายหลังที่เลี้ยงปลามาแล้ว 4-5 เดือน ก็ควรจะได้ใช้อวนตาห่างหรือข่ายไนลอนชนิดช่องตา 6-8เซนติเมตร ทยอยคัดจับปลานิลออกจำหน่าย เพื่อลดอัตราความหนาแน่น ส่วนปลานิลขนาดเล็กถ้ามีมากควรใช้อวนตาถี่จับขึ้นมาตากแห้งแล้วบดผสมเป็นอาหารปลา หรือจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ต้องการนำไปเลี้ยง ซึ่งวิธีหลังนี้จะทำรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงดีกว่า
ส่วนบ่อที่เลี้ยงปลานิลกับปลาสวาย ควรใช้อวนตาห่างคัดจับปลานิลขนาดใหญ่ออกเป็นครั้งคราว และจับปลาทั้งหมดเมื่อปลาสวายที่เลี้ยงไว้โตมีขนาด 1.0-1.5 กิโลกรัม ซึ่งจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1 ปี

ผลผลิตปลา
ผลผลิตการเลี้ยงสุกรร่วมกับปลา โดยใช้ปลานิลหรือปลาสวายเป็นหลักจากฟาร์มบางแห่งซึ่งมีการจัดการที่ดี อาทิ การเตรียมบ่อ การใส่ปุ๋ยและปูนขาว การอนุบาลลูกปลาให้โตได้ขนาด 5-7 เซนติเมตร แล้วปล่อยลงเลี้ยงร่วมกับสุกรตลอดจนการคัดจับปลาโตจำหน่าย และจับปลาทั้งหมดเมื่อใช้เวลาเลี้ยงปลาเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี พบว่าได้ผลผลิต 1,800 - 2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี ซึ่งเป็นผลผลิตค่อนข้างสูงมาก


คอกอนุบาลลูกปลาก่อนปล่อยลงเลี้ยง


การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช
การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช เป็นวิธีการที่เก่าแก่ เนื่องจากการเลี้ยงปลานาน ๆ บ่อจะเสื่อมโทรมจากโคลนเลนซึ่งสะสมอาหารที่เหลือจากปลา แต่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชผักต่าง ๆ และจะกลายเป็นอาหารปลาต่อไป
อาหารปลาและปุ๋ยที่เหลือจะสะสมในบ่อรวมทั้งซากปลา ซากสัตว์ พันธุ์ไม้น้ำจะสะสมอยู่ในดินเพิ่มขึ้นทุกปี แบคทีเรียจะย่อยสารเหล่านี้ ก่อให้เกิดก๊าซพิษสะสมอยู่กลายเป็นฮิวมัสโคลนตมสีดำ การสะสมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการในบ่อเดียวกัน โคลนตมเหล่านี้จะสะสมแบคทีเรีย พยาธิและสารอื่นที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ อีกทั้งทำให้ผลผลิตสัตว์น้ำที่เลี้ยงต่ำลง จึงควรนำออกจากบ่อปลา โคลนตมจะมีปุ๋ยอยู่ในเกณฑ์สูงและมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยทั่วไปควรลอกโคลนเลนออกจากบ่อทุกปี ซึ่งจะนำออก 2 ใน 3 จากพื้นที่ 1 ไร่ (จะเท่ากับ 2.9 ตัน ของปุ๋ยเอ็น:พี:เค (N:P:K)) โคลนในบ่อปลามีส่วนประกอบของปุ๋ยที่ใช้ได้ทันที เท่ากับปุ๋ย 288.5 กิโลกรัม ปุ๋ยโคลนเหล่านี้จะช่วยในการปลูกต้นไม้ เมื่อมีปุ๋ยโคลนที่สะสมจะเพิ่มความหนาของดินในการปลูกพืช ช่วยปรับโครงสร้างส่วนประกอบของดินที่ดูดซับ ปุ๋ยเอ็น:พี:เคและทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้นอีกทั้งยังมีปุ๋ยปฏิกิริยาช้าสะสมอยู่ในดิน ซึ่งนำไปใช้ในการปลูกพืชฤดูกาลต่อไป ดินโคลนแห้งที่ถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม จะใช้เพาะปลูกหญ้า 10 กิโลกรัม ในการขนดินโคลนนอกจากบ่อ 121.2 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ในหนึ่งปีจะเพียงพอเพาะปลูกข้างพื้นที่ 2.5 ไร่ ผลผลิตข้าวประมาณ 500 กิโลกรัม/ปี และดินโคลนที่เท่ากันจำนวนนี้ หากใช้ปลูกหญ้าจะได้ผลผลิต 14,544 กิโลกรัม/ไร่ และผลผลิตต่อหน่วยในนาที่ใช้ดินโคลน 10-15 ตัน ปลูกหญ้า จะใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยคอก 5 ตัน
ประโยชน์จากการใช้ดินโคลน
ดินโคลนในบ่อสามารถนำมาใช้ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ดินควรจะตากแห้ง ไถ ทำให้เรียบแล้วจึงหว่านเมล็ดพืช หน้าดินควรปรับปรุงให้เหมาะกับพืชชนิดนั้น ในฤดูร้อนดินโคลนนี้จะระบายน้ำเข้ามาในการเพาะปลูกเพื่อช่วยให้ดินมีการระบายแร่ธาตุ และเพิ่มออกซิเจนในพื้นดิน เพื่อจะขุดหลุมขนาด 5x5 ตารางเมตร ลึก 1 เมตร ใกล้ ๆ บริเวณบ่อและใช้เศษหญ้า พืชผักและดินโคลนตมแต่งหน้าหลังจากหมักแล้วจะนำมาใช้เป็นปุ๋ยหรือจะนำมาตกแต่งหน้าดิน
ผลในทางธุรกิจ
การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืชจะเป็นการเพิ่มอาหารและปุ๋ยในธรรมชาติการใช้อาหารจะลดลง 1 ใน 3 นอกจากนี้พลังงานที่ใช้ในการขนส่งและซื้อปุ๋ยจะลดลงด้วย การทำฟาร์มเลี้ยงปลาฤดูกาลหนึ่ง ๆ การใช้แรงงานจะเปลี่ยนแปลงในขณะเลี้ยงปลา แรงงานที่เหลือควรนำไปใช้ผลิตจะทำให้มีงานและรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง
การจัดการที่ดินโดยปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา เป็นระบบหนึ่งที่เกษตรกรจะพึ่งตนเองได้ ดินโคลนจะเป็นปุ๋ยในการปลูกพืช ดินโคลนและบ่อปลาที่อุดมสมบูรณ์ควรปรับระบบนิเวศน์วิทยาของบ่อดินให้ดีอยู่เสมอและควรป้องกันการพังทะลายของดิน
การเลี้ยงปลาสลับกับการปลูกพืช
การเลี้ยงปลาทั่วไปจะไม่ต่อเนื่อง บ่ออนุบาลและบ่อเลี้ยงจะพักตากบ่อช่วงหนึ่ง ในการนี้บ่อสามารถนำไปปลูกพืช หรือใช้ในกิจการต่าง ๆ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
การหมุนเวียนบ่อเดียว
การเลี้ยงปลาและปลูกพืชหมุนเวียนในบ่อเดียวกัน หลังจากย้ายลูกปลาหรือปลาใหญ่ไปบ่ออื่น โดยการระบายน้ำออกจากบ่อ กำจัดวัชพืชบริเวณคันบ่อ ทำพื้นบ่อให้เรียบขุดคูระบายน้ำ หว่านเมล็ดหญ้าพื้นบ่อและคันบ่อ หลังจากหว่านแล้วควรดูแลนกและควบคุมความลึกของพืชที่หว่าน
การหมุนเวียนหลายบ่อ
การเลี้ยงปลาหลายบ่อ บ่อว่างควรจะใช้ปลูกพืชเพื่อใช้เลี้ยงปลารุ่นต่อไป การหมุนเวียนปลาและพืชผักเป็นการใช้พื้นที่บ่ออย่างเต็มศักยภาพเพื่อผลิตอาหารธรรมชาติสำหรับสัตว์น้ำ ในระบบนี้พืชผักจะใช้แร่ธาตุจากโคลนดิน หลังจากเกิดการหมักแร่ธาตุจากพืชผักจะกลับคืนสู่บ่อ เป็นการปรับคุณสมบัติของน้ำและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
จากการรับฟังเกษตรกรที่มาติดต่อกับหน่วยงานของราชการส่วนใหญ่ ในขณะนี้พบว่ายังมีปัญหาบางประการที่จะต้องแก้ไข เพื่อปรับปรุงการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานของเกษตรกรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น คือ
เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจการเลี้ยงปลาที่ถูกต้องทำให้ประสบปัญหาในเรื่องน้ำเสีย ปลาเป็นโรค หรือปลาตายมาก เป็นต้น ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1
ปล่อยปลาในบ่อหนาแน่นเกินไป ทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
2
จำนวนสัตว์เลี้ยงไม่สัมพันธ์กับปลาในบ่อ ถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงน้อยเกินไปต้องเพิ่มอาหารสม
ทบจะเป็นการสิ้นเปลือง หรือถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงมาก น้ำในบ่อเป็นสีเขียวเข้มเพราะมีแพลงก์ตอนพืชเกิดมากก็จะดึงเอาออกซิเจนจากน้ำไปใช้ทำให้ปลาตายได้
3
บ่อที่ขุดใหม่ ๆ จะมีปัญหาถ้าดินเปรี้ยว เพราะเมื่อฝนตกน้ำจะชะเอาความเปรี้ยวจากดินลงสู่บ่อ
สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกะทันหัน อาจทำให้ปลาตายได้ ซึ่งแก้ไขโดยนำปูนขาวโรยบริเวณขอบคันบ่อก่อนฤดูฝนและทุก 2 สัปดาห์
4
การใช้ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ในไร่นาที่มีการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ถ้าไม่จำเป็นจริง
ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะเป็นอันตรายต่อปลาได้
การกำหนดราคาขายปลายังอยู่ในมือพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมักจะเอารัดเอาเปรียบตั้งราคาให้ต่ำกว่า
ที่เป็นจริงมาก เพื่อหวังทำกำไรให้มากที่สุด เกษตรกรผู้เลี้ยงปลามักจะแยกกันเป็นเอกเทศไม่มีการรวมกลุ่ม ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ กับพ่อค้าคนกลาง
ขาดแหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพดี และมีจำนวนมากเพียงพอพันธุ์ปลาที่มีปัญหามากที่
สุดในขณะนี้คือ ปลานิล ซึ่งหาลูกปลาพันธุ์แท้ได้ยากมากเมื่อเลี้ยงปลาลูกผสม ปลาจะโตช้า ผลผลิตต่ำ ทั้งยังขายได้ราคาต่ำเพราะมีสีดำเข้มไม่น่ารับประทาน ส่วนพันธุ์ปลาสวายในบางปีจะขาดแคลนและมีราคาสูงมากพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยบางครั้งก็มีการปลอมปน โดยเอาลูกปลาดุกยักษ์มาหลอกขาย เป็นต้น
ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรที่จะเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
ควรศึกษาหาความรู้ด้านการเลี้ยงปลาให้ดีก่อนที่จะดำเนินการโดยการหาเอกสารคำแนะนำ
ตำราที่เขียนให้เฉพาะเกษตรกรมาอ่านก่อนแล้วสอบถามเพิ่มเติมจากผู้รู้ ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่หรือขอเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐที่เปิดอบรมทุกปี ปีละหลาย ๆ ครั้ง
ผู้เลี้ยงปลาควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าพันธุ์สัตว์ พ่อค้า
สัตว์น้ำ หรือพ่อค้าอาหารสัตว์ ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้และมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันแล้วปัญหาเรื่องการถูกโก่งราคา ปัจจัยการผลิต และการกดราคารับซื้อผลผลิตจะทุเลาเบาบางลงไปอย่างมาก
เกษตรกรควรหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพอย่าง
สม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยสำหรับใช้ตัดสินใจในการประกอบอาชีพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ รายการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม เป็นต้น
เกษตรกรควรหมั่นฝึกตนให้เป็นคนหนักแน่น รู้จักพินิจพิเคราะห์ในการประกอบอาชีพ จึงจะ
ได้ผลสำเร็จที่แท้จริง

แนวโน้มการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานในอนาคต
จากผืนแผ่นดินซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและคงที่ แต่ความต้องการใช้ประโยชน์กลับเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากการดิ้นรนเพื่อแสวงหาปัจจัยสี่อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานเป็นการเลี้ยงปลาอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะช่วยพัฒนาพื้นที่ให้เกิดศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาขาดแคลนอาหารโปรตีน ทั้งยังก่อให้เกิดรายได้ และช่วยให้สภาพแวดล้อมมีความสมดุล ไม่ส่งผลกระทบต่อการเสริมสร้างมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถใช้น้ำเพื่อการเลี้ยงปลา ขอบคันบ่อเป็นที่เลี้ยงสัตว์บกและปลูกพืชผัก จึงเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าในที่สุด




ที่มา
www.nicaonline.com

ที่มาของข้อมูล

การเพาะเลี้ยงปลานิล
เอกสารคำแนะนำ
ฝ่ายเผยแพร่ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง
กรมประมง