ปลานิล Oreochromis nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน - 1 ปีสามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่าง ๆ อาทิเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิมผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลานิล

ปลานิล Tilapia nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมาสามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพการเลี้ยง ระยะเวลาเลี้ยง 1 ปี มีอัตราการเติบโตถึงขนาด 500 กรัม ส่วนขนาดของปลาที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักประมาณตัวละ 300 - 400 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิล ซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว มีรสชาติดี ทำให้มีผู้นิยมเลี้ยงอย่างแพร่หลาย

กรมประมงจึงได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปลาเพื่อให้ได้ปลานิลที่มีลักษณะสาย พันธุ์ที่ดี อาทิ การเจริญเติบโต ปริมาณความดกของไข่ ผลผลิตและความต้านทานโรค เป็นต้น เพื่อผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิ่มผลผลิต สัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป

ขั้นตอนการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน

  1. บ่อเลี้ยงปลานิล ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผื่นผ้าเพื่อสะดวกในการจับเนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป ใช้เศษอาหารเลี้ยงจากโรงครัว ปุ๋ยคอกอาหารสมทบอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แหนเป็ด สาหร่าย เศษพืชผักต่างๆ ปริมาณปลาที่ผลิตได้ก็เพียงพอสำหรับบริโภคในครอบครัว ส่วนการเลี้ยงปลานิลเพื่อการค้าควรใช้บ่อขนาดใหญ่ตั้งแต่ 0.5 - 3.0 ไร่ ควรจะมีหลายบ่อเพื่อทยอยจับปลาเป็นรายวัน รายสัปดาห์และรายเดือนเพื่อให้ได้เงินสดมาใช้จ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับค่าอาหารปลา เงินเดือนคนงาน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ การขุดบ่อเลี้ยงปลาในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องจักรกล เช่น รถแทรกเตอร์ รถตักขุดดิน เพราะเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าใช้แรงงานจากคนขุดเป็นอันมาก นอกจากนี้ยังปฏิบัติงานได้รวดเร็วตลอดจนการสร้างคันดินก็สามารถอัดให้แน่น ป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้เป็นอย่างดี ความลึกของบ่อประมาณ 1 เมตร มีเชิงลาดประมาณ 45 องศา เพื่อป้องกันการพังทะลายของดิน และมีชานบ่อกว้างประมาณ 1 - 2 เมตร ตามขนาดความกว้างยาวของบ่อที่เหมาะสม ถ้าบ่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น คู คลอง แม่น้ำ หรือในเขตชลประทาน ควรสร้างท่อระบายน้ำทิ้งที่พื้นบ่ออีกด้านหนึ่ง โดยจัดระบบน้ำเข้า - ออกคนละทาง เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ แต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อชักน้ำและระบายน้ำได้ก็จำเป็นต้องใช้เครื่อง สูบน้ำ
  2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำต่างๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวาให้หมดโดยนำมากองสุมให้แห้งแล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อย ปลาลงเลี้ยง ถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคันดินที่ชำรุด หรือใช้เป็นปุ๋ยแก่พืช ผัก ผลไม้ บริเวณใกล้เคียง
  3. กำจัดศัตรู ซึ่งศัตรูของปลานิล ได้แก่ ปลาจำพวกกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาดุก นอกจากนี้มีสัตว์จำพวก กบ เขียด งู เป็นต้น ดังนั้น ก่อนที่จะปล่อยปลานิลลงเลี้ยงจำเป็นต้องกำจัดศัตรูดังกล่าว เสียก่อนโดยวิธีระบายน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุด การกำจัดศัตรูของปลาอาจใช้โล่ติ๊นสดหรือแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม ปริมาณของน้ำในบ่อ 100 ลูกบาศก์เมตร คือ ทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียดนำลงแช่น้ำประมาณ 1 - 2 ปีบ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลายๆ ครั้งจนหมดนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาจะลอยหัวขึ้นมาภายหลังใส่โล่ติ๊นประมาณ 30 นาที ใช้สวิงจับขึ้นมาใช้บริโภคได้ ส่วนปลาที่เหลือตายอยู่พื้นบ่อจะลอยขึ้นมาในวันรุ่นขึ้น สำศัตรูพวกกบ เขียด งู จะหนีออกจากบ่อไป และก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรจะทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัวไปหมดเสียก่อน
  4. อัตราการปล่อยปลาเลี้ยงในบ่อดิน ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อาหาร และการจัดการเป็นสำคัญ โดยทั่วไปจะปล่อยลูกปลาขนาด 3 - 5 ซม. ลงเลี้ยงในอัตรา 1 - 3 ตัว/ตารางเมตร หรือ 2,000 - 5,000 ตัว/ ไร่
  5. การให้อาหาร การใส่ปุ๋ยเป็นการให้อาหรแก่ปลานิลที่สำคัญมากวิธีหนึ่งเพราะจะได้อาหาร ธรรมชาติที่มีโปรตีนสูงและราคาถูก แต่เพื่อเป็นมีการเร่งให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตเร็วขึ้นหรือถูกต้องตามหลัก วิชาการ จึงควรให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารสมทบด้วย เช่น รำ ปลายข้าว กากมะพร้าว มันสำปะหลัง และเศษเหลือของอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารสมทบเหล่านี้ควรเลือกชนิดที่มีราคาถูกและหาได้สะดวก ส่วนปริมาณที่ให้ก็ไม่ควรเกิน 4% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลานิล ได้แก่ ปัญหาปลาสูญหาย ปัญหาพันธุ์ปลานิลลูกผสม ปัญหาปลานิลราคาต่ำ ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาปลาไม่โต ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน ปัญหาการใช้พื้นที่จำนวนมากเลี้ยงปลานิล ปัญหาราคาอาหาร ปัญหาดินเปรี้ยว เป็นต้น

เชียงใหม่นิวส์ -- ข่าวเกษตร
วันที่ 26 กรกฎาคม 2552

http://kaewpanya.rmutl.ac.th


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที่มาของข้อมูล

การเพาะเลี้ยงปลานิล
เอกสารคำแนะนำ
ฝ่ายเผยแพร่ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง
กรมประมง