ศ. Robert Ackman จาก ม. Dalhousie มณฑล Nova Scotia ภาคตะวันออกของแคนาดาพบว่าปลานิลจากการเพาะเลี้ยง มีอัตราของสารโอเมกา 3 น้อยกว่าสารโอเมกา 6 โดยโอเมกา 6 นั้น ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบหลอดเลือด รวมถึงเนื้อเยื่อของอวัยวะภายในต่างๆ ในร่างกาย โดยมีรายงานของ American Dietetic Association ระบุว่าสารโอเมกา 6 เป็นสารที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ แต่ได้รับจากการบริโภค ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีผลเสีย เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหอบหืดได้
ศ. Ackman ทำการศึกษาปลานิลที่นิยมเลี้ยงกันทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศจีน และโตรอนโตถือเป็นตลาดปลานิลที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาเหนือ ผู้คนนิยมบริโภคปลาเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น แต่ไม่ค่อยมีผู้ที่ตระหนักถึงความแตกต่างของแต่ละชนิดของปลา และความแตกต่างของการเพาะเลี้ยงที่เป็นสาเหตุให้ปลามีความแตกต่างกันทางโภชนาการ และยังมีบทวิจัยจาก Medicine in North Calorina ที่กล่าวว่าปลานิลไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
บทวิจัยได้กล่าวไว้ว่า ปลานิลที่มาจากการเพาะเลี้ยงจะมีสารโอเมกา 6 ที่มากเกินไป ซึ่งก่ออันตรายแต่ร่างกายมนุษย์ แต่ผลการทดลองไม่ได้กล่าวถึงการเปรียบเทียบระหว่างปลานิลเลี้ยงกับปลานิลตามธรรมชาติ โดยเปรียบเทียบระหว่างปลานิลเลี้ยงกับปลาเลี้ยงชนิดอื่นๆ
นอกจากนี้ยังพบว่า ปลานิลเลี้ยงมีสารโอเมกา 3 ที่น้อยเกินไปอีกด้วย (มีน้อยกว่าครึ่งกรัม ในน้ำมันปลา 100 กรัม) ในขณะที่ปลาแซลมอน และปลาเทร้าเลี้ยง ให้สารโอเมกา 3 ในอัตราที่มากกว่า และปลานิลเลี้ยงยังให้สารโอเมกา 6 ที่มากกว่าโดนัท เบคอน และแฮมเบอร์เกอร์อีกด้วย
ศ. Ackman สรุปว่า ผู้บริโภคจำเป็นต้องตระหนักถึงการบริโภคปลาโดยคำนึงถึงชนิด และปริมาณที่ ควรบริโภค แต่ยังขาดการศึกษาในด้านนี้เผยแพร่ต่อสาธารณชน ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้จักเลือกปลาที่ถูกต้องและเหมาะสม ฉะนั้นหากเป็นไปได้ ควรบริโภคปลาตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีประโยชน์มากกว่าปลาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะเสี่ยงต่อสารปรอทปนเปื้อนก็ตาม
(ที่มา: สอท. ออตตาวา 11 สิงหาคม 2551)
http://www.ostc.thaiembdc.org
ปลานิล Oreochromis nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน - 1 ปีสามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่าง ๆ อาทิเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิมผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ที่มาของข้อมูล
การเพาะเลี้ยงปลานิล
เอกสารคำแนะนำ
ฝ่ายเผยแพร่ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง
กรมประมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น